มาตรฐานสากลที่ใช้กับ BIM
ในขณะนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกล่าวถึง คือ มาตรฐาน ISO 19650 ซึ่งเผยแพร่ในปี 2018 ทำให้วงการ BIM ของบ้านเราเริ่มสนใจมากขึ้นโดยเฉพาะจะเกี่ยวพันกับมาตรฐานระดับชาติที่ถูกประกาศใช้งาน จึงเป็นหัวข้อที่นำมากล่าวบางเรื่องที่จำเป็นพอสังเขป ผลกระทบกับการทำงาน, ความเข้าใจ, วิธีใช้งาน และอื่นๆ ที่คนทำงานต้องปรับเข้าหาซึ่งแตกต่างจากการทำงาน BIM ที่เป็นอยู่อย่างแน่นอน แต่ ISO 19650 ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่เสียทีเดียวเพราะประเทศอังกฤษได้ใช้มาตรฐาน PAS 1192 ตั้งแต่ปี 2013 แล้วปรับมาเป็น ISO 19650 ผู้ที่รู้จักใช้มาก่อนย่อมเข้าใจได้ทันที
รู้จัก ISO 19650
มาตรฐานนี้กล่าวถึงแนวคิดของการบริหารจัดการข้อมูลตลอดอายุโครงการเมื่อใช้ BIM ให้ผู้ร่วมงานทุกฝ่ายสามารถนำส่งข้อมูลทรัพย์สินตามระยะการทำงานโดยไม่ตกหล่นผ่าน Project Information Model ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การออกแบบ การก่อสร้าง จนถึงการส่งมอบทรัพย์สินอาคารและเกี่ยวกับกิจกรรมการบริหารทรัพย์สินรวมถึงการดูแลซ่อมบำรุง
ISO 19650 เป็นมาตรฐานระดับชาติที่ออกเผยแพร่ 2 ฉบับที่ระบุแนวคิดและกระบวนการทำงานลงไปถึงรายละเอียดให้ผู้ร่วมงานสามารถบริหารข้อมูลทรัพย์สินประกอบการตัดสินใจภายใน Common Data Environment (CDE) และกล่าวถึงการประสานงานสำหรับผู้ร่วมงานทุกระยะการทำงาน
มาตรฐานฉบับแรก กล่าวถึงแนวคิดเบื้องต้นเป็นหลัก Organization and digitization of information about buildings and civil engineering works, including building information modelling (BIM) – Information management using building information modelling – Part 1: Concepts and principles (ISO 19650-1:2018)
มาตรฐานฉบับที่สอง กล่าวถึงการทำงานในการนำส่งข้อมูลทรัพย์สิน Organization and digitization of information about buildings and civil engineering works, including building information modelling (BIM) – Information management using building information modelling – Part 2: Delivery phase of the assets (ISO 19650-2:2018)

ความเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน
คำอธิบายแนวคิดเรื่องทรัพย์สินอาคารกับ BIM ก็คือ ทรัพย์สินทางกายภาพที่เราสามารถรับรู้ได้และนำมาใช้งานไม่ว่าถนน อุโมงค์ ทางรถไฟ หรืออาคารที่เป็นกลุ่มก้อนหรือหลังเดี่ยวลงไปถึงระบบอาคารและในที่สุดไปถึงวัสดุ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะมีข้อมูลคุณสมบัติทางกายภาพของมัน เมื่อนำมาใช้งานต้องเอาคุณสมบัติเหล่านี้มาประกอบการบริหารหรือซ่อมแซม ส่วน BIM คือภาพจำลองสามมิติที่บรรจุข้อมูลทางกายภาพทางเรขาคณิต Geometry data ข้อมูลทรัพย์สิน Asset data และข้อมูลที่เป็น Document ทั้งหมดถูกจำลองไว้ทำการทดสอบระหว่างกระบวนการทำงานซึ่งมีระดับของความละเอียดในแต่ละขั้นตอนตามความต้องการของข้อมูลที่เหมาะสม Level of Information Need (LoIN) ทั้งหมดเป็น Project Information Model ตามข้อมูลที่เกิดขึ้นจากความต้องการของโครงการ Exchange Information Requirements (EIR) จากนโยบายขององค์กร Organization Information Requirements (OIR)
เป็นเพียงเบื้องต้นของมาตรฐานนี้นำมาขยายความสร้างความเข้าใจ การทำงานตามกระบวนการนี้เปลี่ยนแปลงจากปัจจุบันหลายประการที่เราเคยยึดแนวทางจากมาตรฐานอีกประเทศหนึ่ง มาตรฐาน ISO เป็นมาตรฐานระดับสากลที่มีความแข็งแกร่งในภูมิภาคนี้ไม่พ้นที่เราจะต้องได้สัมผัส การปรับตัวเพื่อสร้างความเข้าใจหาแนวทางที่ถูกต้องจึงเป็นภาระที่ผู้ใช้ BIM ต้องตระหนักถึงอย่างมาก
ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak