การจัดระเบียบชื่อไฟล์ในกระบวนการ BIM

BIM | ทำงานกับไฟล์

การทำงานในระบบดิจิทัลบนไฟล์ต่างๆมีการตั้งชื่อตามการทำงาน โดยเฉพาะงานเอกสารภาษาไทยที่เป็นอักขระบอกชื่อโครงการมีความยาวทำให้มีผลต่อการใช้งานในเครื่องมือที่มี Version ที่แตกต่างเป็นอุปสรรค์ต่อการสื่อสารระหว่าเครื่องมือต่อเครื่องมือ การจัดการข้อมูลเป็นหลักสำคัญในการทำงาน การตั้งชื่อไฟล์จึงเป็นหัวข้อที่ถูกกำหนดในการทำงานด้วย BIM เสมอซึ่งอาจจะพบในข้อกำหนดของ BIM Execution Plan (BEP) หรือ BIM Standard ให้ทีมงานทุกฝ่ายสามารถทำงานร่วมกันได้

สภาพแวดล้อมของข้อมูล

ในการดำเนินโครงการที่มีผู้ร่วมงานหลายฝ่ายตลอดอายุของโครงการ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามขั้นตอนการทำงานตลอดเวลา ความต้องการให้ข้อมูลทั้งหมดถูกบันทึกหรือจัดเก็บอย่างเป็นที่เป็นทางหลังจากการส่งมอบอาคารแล้วนำไปสืบค้นความเป็นมาได้ ทั้งนี้เป็นประโยชน์กับเจ้าของโครงการซึ่งจะนำเอาไปต่อยอดการใช้งาน การสร้างแหล่งข้อมูลเดียวที่รวบรวมทั้งการจัดการและการเผยแพร่เอกสารโครงการที่เกี่ยวข้องและการอนุมัติใน “กระบวนการจัดการสภาพแวดล้อมทั่วไปของข้อมูลสำหรับทีมสหสาขาวิชาชีพ Common Data Environment (CDE)” จะทำหน้าที่เป็น Document Management System เพื่ออำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลและข้อมูลสารสนเทศระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการ ภายในหนึ่งข้อมูลสารสนเทศแบ่งออกกเป็น 4 ส่วนเป็นพื้นที่การทำงานของ

  • Work In Progress Area
  • Shared Area
  • Published Area
  • Archive Area

พัฒนาการทำงานจะถูกจัดเก็บในพื้นที่เหล่านี้ตามหน้าที่รับผิดชอบและ Version ของมันผ่านการควบคุมด้วย Folder Structure ที่แสดง Status ของเอกสารนั้นๆ

ไฟล์หลายประเภทถูกสร้างขึ้นตามสถานะของมันการตั้งชื่อให้ระบบบริหารเอกสารทำงานได้อย่างเป็นระบบก็ด้วยกรอบวิธีที่กำหนดให้เราทำงาน การเปลี่ยนชื่อไฟล์ขณะทำงานตาม Version จะทำให้ต้องมีการ Update กับผู้ร่วมงานที่มีการ Link File ตลอดเวลาและอาจจะเกิดความผิดพลาด การใช้ชื่อไฟล์จึงมีความสำคัญในการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลโดยการควบคุมสถานะบน Folder Structure

การตั้งชื่อไฟล์

หลายหน่วยงานอาจจะมีวิธีการกำหนดชื่อไฟล์ของตัวเองอยู่แล้ว การตั้งชื่อจึงเป็นความเฉพาะภายในของหน่วยงานนั้น การทำงานร่วมกันต้องการสื่อสารให้ทุกฝ่ายเข้าใจร่วมกันและมองข้อมูลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไฟล์ที่มาจากการตั้งชื่อจากหลากหลายสหวิชาชีพเมื่อนำมา Coordination มีอุปสรรค์ในการจำแนกและต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ ขอยกตัวอย่างโดยอ้างอิงหลักการตั้งชื่อไฟล์จากมาตรฐานเป็นที่แพร่หลายในปัจจุบันคือ ISO 19650-2 : 2018 ซึ่งปรับมาจาก PAS 1192-2 : 2013 มีระบบในการตั้งชื่อโดยใช้รหัสย่อแบ่งออกเป็น 7 หน่วย ในแต่ละหน่วยมีคำอธิบายเป็นลำดับดังนี้

<Project>-<Originator>-<Volume/System>-<Level/Location>-<Type>-<Role>-<Number>

  • Project : ชื่อโครงการใช้อักขระย่อ 2-6 ตัวอักษร เป็นไปตามลักษณะของโครงการ
  • Originator : องค์กรที่เป็นเจ้าของข้อมูลใช้อักขระย่อ 3-6 ตัวอักษร
  • Volume / System : เป็นกรอบที่กำหนดขึ้นในโครงการใช้อักขระย่อ 2 ตัวอักษร
  • Level / Location : ระดับและตำแหน่งที่กำหนดในโครงการใช้อักขระย่อ 2 ตัวอักษร
  • Type : ชนิดของข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นใช้อักขระย่อ 2 ตัวอักษร
  • Role : หน้าที่ของผู้ทีมีความรับผิดชอบในโครงการใช้อักขระย่อ 1-2 ตัวอักษร
  • Number : ตัวเลขที่สร้างขึ้นตามชุดของข้อมูลใช้อักขระย่อ 4-6 ตัวอักษรไม่ควรใช้เลขศูนย์กำหนดตาม Project Information Standard

ขอยกตัวอย่างในการตั้งชื่อ “AAA-BBB-ZZ-B1-M3-A-1234” มีความหมายว่า โครงการ AAA มีองค์กรที่เป็นเจ้าของข้อมูลนี้คือ BBB ไฟล์นี้กำหนด Volume/System ทั้งโครงการ แสดง Level/Location ที่ชั้น B1 เป็นไฟล์ 3D Model ในนามของสถาปนิก มีเลขรหัส 1234

รายละเอียดของรหัสย่อจะให้มีความยาวไม่เกิน 6 ตัวอักษรซึ่งทำให้เกิดความกะทัดรัด คำอิบายของรหัสย่อในมาตรฐานไม่ได้นำมากล่าวในที่นี้ ตัวอย่างนี้จะทำให้ผู้ใช้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลและผู้ร่วมงานเข้าใจเป็นทางเดียวกันในระบบการจัดการข้อมูลของโครงการ ผู้ที่จะนำไปใช้ให้พิจรณาตามความเหมาะสมและก่อนนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ควรศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจากมาตรฐาน ISO 19650-1-2 : 2018

ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Create a website or blog at WordPress.com

%d bloggers like this: