ยกระดับการทำงานด้วย BIM
นิเวศแห่งการทำงาน (Eco System) ด้วย BIM มีความต้องการหลายๆ ด้านที่อยากจะให้เป็น นอกจากการทำงานในการออกแบบและการก่อสร้าง ซึ่งเป็นระยะเวลาเริ่มต้นของการสร้างทรัพย์สินทางกายภาพ (Physical Asset) เพื่อนำมาใช้งาน ข้อมูลที่บรรจุในทรัพย์สินเสมือนจริง (Virtual Asset) หรือเรียกว่า Model ประกอบขึ้นด้วยข้อมูลจากรูปทรงเลขาคณิต ข้อมูลทรัพย์สิน และข้อมูลเอกสาร ทำให้เกิดเป็น Information Model ระดับของข้อมูลที่ถูกพัฒนาในมิติต่างๆ (Dimension of BIM) ถูกกำหนดขึ้นโดยเริ่มต้นตั้งแต่ 3D-4D-5D ไปจนถึง 10D หรือระดับอื่นๆ โดยมีคำจำกัดความแตกต่างกันออกไปที่หลายคนที่อยู่ในวงการเคยผ่านตา
การทำงานด้วย BIM จึงไม่ใช่การสร้างหรือใช้ Model เพียงอย่างเดียว ทุกอย่างจะขับเคลื่อนได้ด้วยกระบวนการทำงานบนการใช้ข้อมูลอย่างถูกต้อง ปัจจุบันเราอยู่ในระดับไหนของการทำงาน? เราจะพัฒนาไปสู่ระดับที่สูงขึ้นได้อย่างไร? อะไรที่จะนำไปสู่ระดับที่ต้องการ? เราพร้อมหรือยังที่จะนำไปสู่ระดับนั้น?
BIM Dimension
มีการยกตัวอย่างของ BIM ในระดับต่างๆเช่น 3D-4D-5D-6D-7D-… ตามสมมุติฐานของต่างประเทศนำมาสู่การอ้างอิงในการใช้งาน เช่น นำไปสู่การวางแผนงาน, การนำไปสู่การประมาณการ, การนำไปสู่การบริหารจัดการอาคาร, เสมือนเป็นเป้าหมายให้ทุกคนมุ่งไปสู่จุดที่ต้องการ
คำอธิบายเหล่านี้ในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกันในระดับ 4D-5D-6D-7D-…
ไม่ว่าจะกำหนดอย่างไรพื้นฐานของการใช้ข้อมูลในด้านต่างๆยังเป็นหลักในการนำไปพัฒนาต่อยอด
สถานะที่เป็นอยู่
การใช้ BIM ในงานปัจจุบันอยู่ที่ความต้องการของโครงการจะระบุการใช้ข้อมูลไปทำอะไรบ้างในขั้นไหนและระดับไหนของกระบวนการทำงาน
Model ที่ถูกสร้างขึ้นจะเป็น Information Model ที่มีความละเอียดของข้อมูล (LOD) ตามขั้นตอนที่ถูกระบุไว้ในแผนปฏิบัติงาน (BEP)
ข้อสำคัญคือการบริหารข้อมูลใน Information Model ทั้งเจ้าของ Model และผู้ที่นำไปใช้งานจะนำมาสู่แผนปฏิบัติงานได้หรือไม่? มีความรอบรู้ในการทำหรือใช้ข้อมูลจากรูปทรงเลขาคณิต, ข้อมูลทรัพย์สิน และข้อมูลเอกสาร เพียงพอหรือไม่? ระดับของการพัฒนาจะไม่เกิดผลสำเร็จถ้าพื้นฐานของทัศนะคติ, ความเข้าใจ และวิธีการทำงานของทีมยังไม่สามารถนำไปพัฒนาประกอบการทำงานได้

สู่การยกระดับ
การประเมินด้วยคำถามนำไปสู่คำตอบที่สามารถประมวลได้ว่า เราควรทำอย่างไร ด้วยการรับรู้สถานะที่เป็นจริงและเข้าถึงปัญหาเพื่อนำมาไต่ตรองสู่คำตอบเป็นแนวทางของแต่ละคนรวมถึงหัวข้อที่ควรคำนึงถึงเพื่อต่อยอดไปสู่ระดับที่สูงขึ้น
- เราอยู่ในมิติไหน? : คำถามแรกก่อนการพัฒนาทำให้รู้สภาวะของตัวตนก่อนการพัฒนา เราคือนักสร้าง Model 3 มิติ สร้างทัศนียภาพที่มีสีสรร หรือทำงานเพื่อข้อมูลเป็น Information Model
- เราพบปัญหาอะไรในการทำงานกับ Model 3 มิติ? : ปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายเมื่อเริ่มทำงานร่วมกับผู้อื่น, ความต้องการที่ไม่รู้จบ, หลักเกณฑ์ที่ถูกกำหนดอย่างมากมาย, มาตรฐานที่ไม่เป็นมาตรฐาน, ระดับความสามารถที่แตกต่างกัน และอื่นๆ
- เราจะก้าวไปสู่อีกมิติได้อย่างไร? : ไม่มีคำตอบให้เราได้อย่างชัดเจนว่าควรเดินอย่างไร นอกจากผ่านประสบการณ์ที่โหดร้ายก่อนหาคำตอบได้ การเรียนรู้จากสื่อไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นคำตอบ ความเข้าใจเรื่อง BIM อย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่ต้องค้นหา
- เราควรเรียนและเข้าใจอะไรบ้าง? : หัวข้อสังเขปที่รุบุไว้เป็นบางหัวข้อที่จำเป็นที่ควรรู้สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาไปสู่อีกระดับหนึ่งของการทำงานด้วย Information Model
- BIM Maturity การเรียนรู้วุฒิภาวะและความสามารถความรับผิดชอบซึ่งเป็นตัวชี้วัดในการใช้ BIM
- BIM Standard การเข้าใจมาตรฐานการทำงานและวิธีดำเนินงานสำหรับโครงการ
- EIR, BIM Uses การเข้าใจความต้องการของโครงการเพื่อกำหนดการใช้งาน
- BEP การเข้าใจแผนปฏิบัติการของโครงการที่ถูกกำหนดให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกัน
- Collaboration การเข้าใจในการร่วมมือในการทำงานกับผู้ร่วมงานทุกฝ่าย
- Information Management การเข้าใจระเบียบวิธีการบริหารจัดการข้อมูล
- Work Plan การเข้าใจขั้นตอนในการทำงานและรายละเอียดแต่ละขั้นตอนนั้น
- Classification การเข้าใจการจำแนกองค์ประกอบอาคารตามมาตรฐาน
- LOD การเข้าใจความละเอียดของข้อมูลในระดับต่างๆ
ยังมีอีกหลายประเด็นเพื่อพัฒนาการทำงานในระดับเบื้องต้นด้วยการทำงานเพื่อเป็น Information Model ต้องการการประสานงานและทัศนะคติการทำงานรวมหมู่ด้วยการคิดอย่างเป็นระบบ
ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak