การสร้าง BIM Execution Plan (BEP)

ทุกโครงการ BIM ควรมี BEP เสมือนเป็นธรรมเนียมสำหรับปฏิบัติงาน มีแนวคิดในการสร้างและการทำงานที่แตกต่างจากภูมิภาค วิธีการทำงานบนมาตรฐานและเกี่ยวพันถึง BEP ถูกกำหนดขึ้นตามรูปแบบของภูมิภาคนั้นซึ่งจะนำตัวอย่างมานำเสนอในโอกาสต่อไป ขอยกตัวอย่างที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันที่แสดงขั้นตอนเป็นลำดับ ดังนี้

การสร้าง BEP สำหรับใช้งานในโครงการมีการนำไปใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ขอยกตัวอย่างหนึ่งของเอกสารที่ใช้ทำแผนปฏิบัติงานในปัจจุบันคือ Building Information Modeling Project Execution Planning Guide Version 2.1 released MAY 2011 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงเป็น Version 3 จัดทำขึ้นโดย The Computer Integrated Construction Research Group The Pennsylvania State University ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ BIM Project Execution Planning Project ภายใต้ buildingSMART alliance™ (bSa) ที่เป็นองค์กรภายใน National Institute of Building Sciences ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้ National Building Information Modeling Standard – United States™ (NBIMS-US)

เป็นคู่มือเชิงปฏิบัติ ที่ทีมโครงการสามารถใช้เพื่อออกแบบกลยุทธ์ในการใช้ BIM และพัฒนา BEP แนวคิดการสร้างแบบจำลองหลักและการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้รับการออกแบบมาเพื่อเสริมเป้าหมายระยะยาวของ bSa ในการพัฒนามาตรฐานที่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วทั้งอุตสาหกรรม AECOO เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการนำ BIM ไปใช้ในโครงการ

ตามเอกสารที่ทำการปรับปรุงระบุว่าโครงสร้างของกระบวนการทำงานเพื่อสร้างและนำไปใช้งาน BEP แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย

  1. กำหนดเป้​​าหมายสำหรับการดำเนินการของ BIM
  2. ระบุมูลค่าสูงสุดสำหรับการใช้ Model Uses ในระหว่างขั้นตอนการวางแผนโครงการ, การออกแบบ, การก่อสร้าง และการบริหารอาคาร
  3. ออกแบบ BIM execution process โดยการสร้าง Process maps
  4. สร้างแผนกำหนดการส่งมอบข้อมูล
  5. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบของสัญญา, ขั้นตอนการสื่อสาร เทคโนโลยี และการควบคุมคุณภาพเพื่อรองรับการนำไปปฏิบัติ

โดยการพัฒนา BIM Plan สมาชิกโครงการและทีมงานโครงการสามารถบรรลุคุณค่าดังต่อไปนี้

  1. ทุกฝ่ายจะเข้าใจและสื่อสารเป้าหมายเชิงกลยุทธ์สำหรับการนำ BIM ไปใช้ในโครงการอย่างชัดเจน
  2. ในองค์กรจะเข้าใจบทบาทและความรับผิดชอบในการดำเนินการ
  3. ทีมงานจะสามารถออกแบบกระบวนการดำเนินการให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจของสมาชิกในทีมแต่ละคนและขั้นตอนการทำงานทั่วไปขององค์กร
  4. ตามแผนจะสรุปกรอบการเพิ่มเติมทรัพยากร, การฝึกอบรม หรือความสามารถอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการนำ BIM ไปใช้ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์
  5. ตามแผนจะจัดเตรียมเกณฑ์มาตรฐานสำหรับคำอธิบายกระบวนการให้กับผู้เข้าร่วมร่วมโครงการในอนาคต
  6. ฝ่ายจัดซื้อจะสามารถกำหนดภาษาของสัญญาเพื่อให้แน่ใจว่าผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดปฏิบัติตามภาระผูกพันของตน
  7. แผนงานพื้นฐานจะเป็นเป้าหมายในการวัดความคืบหน้าตลอดทั้งโครงการ

วัตถุประสงค์ในโครงสร้างของกระบวนการทำงานเพื่อกระตุ้นการวางแผนและการสื่อสารโดยตรงระหว่างสมาชิกในทีมโครงการในช่วงเริ่มต้นของโครงการ ทีมที่เป็นผู้นำกระบวนการวางแผนควรประกอบไปด้วยสมาชิกจากทุกองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในโครงการ เนื่องจากไม่มีวิธีใดวิธีหนึ่งที่ดีที่สุดสำหรับการนำ BIM ไปใช้ในทุกโครงการ แต่ละทีมจึงต้องออกแบบกลยุทธ์การดำเนินการที่เหมาะสมโดยเข้าใจเป้าหมายของโครงการ ลักษณะเฉพาะของโครงการ และความสามารถของสมาชิกในทีม

การนำ BIM Execution Plan (BEP) ไปใช้งานมีวิธีแตกต่างกันออกไปตามจุดประสงค์การใช้งานโดยมีโครงสร้างหลักของการส่งมอบข้อมูลและการแลกเปลี่ยนข้อมูลในระยะการดำเนินโครงการบนข้อตกลงร่วมกัน สาระสำคัญ คือ แผนการทำงานให้ทุกฝ่ายสามารถนำเอาข้อมูลไปใช้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ลงไปถึงรายละเอียดความรับผิดชอบ

การจัดทำจะใช้ข้อมูลมาออกแบบวิธีการทำงานให้ทุกฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน เอกสารทั้งหมดควรจะต้องกระชับและสามารถปรับปรุงให้สอดคล้องให้ทุกฝ่ายเข้าถึงได้ตลอดระยะเวลาการทำงาน และยังต้องระบุวิธีการประสานงาน การเชื่อมโยงข้อมูล ข้อสำคัญคือผู้ที่ใช้ต้องเข้าใจกระบวนการและเป้าหมายในการใช้อย่างถูกต้อง

ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Create a website or blog at WordPress.com

%d bloggers like this: