Federated Model | แนวคิดของการทำงานร่วมกัน

รูปแบบการสร้าง Model เพื่อการทำงานร่วมกันเป็นแนวทางที่ควรตกลงกันก่อนเริ่มงาน การแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือการทำ Coordination ในระหว่างการปฏิบัติงานเป็นสภาพที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในแต่ละช่วงการทำงาน, การปรับแก้ไข, การเปลี่ยนแปลง, การยกเลิก มีขึ้นตลอดเวลาเสมือน Model มีชีวิต ซึ่งจะเติบโตขึ้นตลอดอายุของโครงการ ในการทำงานโครงการเล็กที่ทำคนเดียวเบ็ดเสร็จ การรวม Model อาจจะไม่มีประเด็นมากนักแต่ในการทำงานกับผู้ร่วมงานหลายฝ่ายซึ่งมีสิทธิ์ใน Model ของตนเอง แนวคิดในการจัดการเพื่อตรวจสอบ พัฒนาความก้าวหน้า, หาข้อขัดแย้ง, เป็นสิ่งที่ต้องทำที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ความเชื่อมโยงของ Model

การทำงานปรกติที่ผู้ออกแบบจะมีผลงาน Model ของตนเองจากเครื่องมือที่แตกต่างกันหรือเหมือนกันขึ้นอยู่กับการใช้งาน ปัจจุบันเครื่องมือในการสร้าง Model ส่วนใหญ่จะอยู่ในค่ายเดียวกัน มีผู้ออกแบบบางส่วนอาจจะใช้เครื่องมือที่เหมาะกับการทำงานของเขามาร่วมงาน เช่น เครื่องมือที่ใช้ประกอบการออกแบบโครงสร้าง, การส่งต่อไปทำวิเคราะห์พลังงาน, การใช้กับเครื่องจักรเพื่อผลิตชิ้นงาน ไฟล์ที่ทำงานในโครงการจึงมีหลายชนิด การเชื่อม Model file ที่มีสกุลต่างกันจึงไม่ใช่เรื่องง่าย

ในขณะที่สิทธิ์ในการออกแบบเป็นของเจ้าของ Model ไม่สามารถให้ผู้อื่นนำ Model ของตนไปทำซ้ำหรือถอดเอาองค์ประกอบไปใช้กับงานอื่นๆ แต่ BIM สื่อสารกันด้วยการแสดงผลของ Model การขอยืมไปอ้างอิงเพื่อทำงานต่อ การใช้กรอบ ขอบเขตของอาคารนำไปประกอบการสร้างองค์ประกอบเป็นเรื่องที่ผู้ร่วมงานต้องหารือและทำการตกลงกัน ข้อกำหนดในสิทธิของเจ้าของ Model, การทำซ้ำ, การแก้ไข Model ของผู้อื่น หน้าที่ความรับผิดชอบสิ่งเหล่านี้มีข้อกำหนดที่ต้องตกลงและเคารพซึ่งกันและกัน การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลจากไฟล์ต่างประเภทย่อมมีการส่งถ่ายที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นขั้นตอนใดจะกำหนดการส่งข้อมูลจะมีการตกลงและสร้าง Master Information Delivery Plan (MIDP) ก่อนเริ่มโครงการเพื่อจัดสรรการทำงานในการนำส่งข้อมูลระหว่างกัน

Federated Model

ผู้ร่วมงานเป็นเจ้าของ Model ของตนเองถูกสร้างขึ้นจาก Application ที่แตกต่างกันและคำนึงถึงสิทธิของการเป็นเจ้าของ ข้อมูล วิธีการสร้าง รวมถึงเทคนิคเฉพาะทาง เมื่อนำ Model มาประกอบกันขึ้นเป็นอาคารต้องมีหลักในการเชื่อมโยงกัน Federated Model เป็นแนวคิดหนึ่งที่ทำให้ผู้ร่วมงานมีอิสระมากขึ้นในการทำงานบน Application ของตนเองโดยอาจจะใช้ Proprietary data format ที่มี File format เดียวกันหรือใช้ Open data-base format ซึ่งเป็นไฟล์ที่สื่อสารกับทุก Application ได้ด้วยการนำมาเชื่อมให้อยู่ในที่ทุกคนทำงานร่วมกันโดยการ Link หรือนำมาวางทับกันบน Sever หรือ Common Data Environment (CDE) ที่ถูกสร้างขึ้นบนฐานข้อมูลหรืออยู่บน Cloud ทำให้ผู้ร่วมงานทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลได้

ความแตกต่าง

วิธีการจัดการมีความแตกต่างกันจากการใช้ File format เดียวกันในการทำ Coordination และมีข้อดีข้อเสียที่ต้องนำมาเปรียบเทียบ เช่น ถ้าทั้งโครงการกำหนดให้ผู้ออกแบบต่างสาขาใช้ Application เดียวกันทั้งหมดแล้วทุกๆ ฝ่ายเห็นชอบด้วยการใช้ native file ทำ Coordination ไม่ว่าจะทำการตรวจสอบงาน, การทำ Clash Detection, การทำ Progress, การทำประมาณการ ผู้ออกแบบจะต้องจัดหาเครื่องมือและทำการเรียนรู้การใช้งานต่างจากเครื่องมือทำงานเฉพาะทางของตน

  • ในกรณีที่ใช้ File format เดียวกันอาจจะมีความสะดวกเหมาะสำหรับงานที่ไม่มีความซับซ้อนมาก ทีมงานเป็นกลุ่มเดียวทำงานในระยะออกแบบ และอีกส่วนไปทำในระยะก่อสร้าง ไม่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลในระดับที่สูง ต้องการวิธีการจัดการพื้นฐานโดยใช้มาตรฐานการทำงานเพื่อแก้ปัญหาการควบคุมคุณภาพและ Version ในการแก้ไข
  • ในกรณีที่ใช้ Open Standard ในการสื่อสารซึ่งมีการระบุจาก AIA ให้ผู้ผลิต Application ในแต่ละค่ายให้สื่อสารได้โดยใช้มาตรฐานกลาง ทั้งนี้ต้องมีวิธีการสื่อสารอีกรูปแบบแต่สามารถควบคุมข้อมูลตามขั้นตอนการทำงานและสนับสนุนการเป็นเจ้าของสิทธิ Model ได้ดีกว่าการใช้ File format จากเครื่องมือเดียวกัน วิธีนี้ถูกนำมาใช้กับโครงการทั่วไปบน Data Environment ที่ถูกจัดตั้ง

ตัวอย่างหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อมูล

การใช้ Open Standard เช่น Industrial Foundation Class (IFC) มีข้อมูลที่บรรจุใน Object base และเป็นกลางเปิดให้สามารถพัฒนาต่อเพื่อ BIM interoperability เพื่อใช้กับองค์ประกอบอาคารและข้อมูลในการก่อสร้างซึ่งพัฒนาขึ้นโดย buildingSMART มีการสนับสนุนจากมาตรฐานต่างๆยกตัวอย่างเช่น AISC, CIS/2 ภายใน Data Model Standard ประกอบด้วย Geometry specification ตามมาตรฐาน ISO ในชื่อ STEP การแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นการนำเอา Object base Model ที่นิ่งแล้วไปอ้างอิงการทำงานในหน้าที่ต่างๆ มากกว่าการนำ Model ไปแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งอาจจะไม่ตรงตามความเข้าใจแบบเดิมแต่มีอิสระในการใช้ Software ลดขนาดของไฟล์ลง ควบคุม Scope of work ในหน้าที่ต่างๆ ควบคุมการทำ Coordination และสิทธิ์ของเจ้าของงาน

ข้อดีและข้อเสียของสองวิธีผู้ใช้งานต้องนำมาพิจารณาเลือกใช้ก่อนเริ่มต้นการทำงาน ซึ่งขึ้นกับจุดประสงค์และความสามารถในการใช้เครื่องมือของผู้ร่วมงาน การใช้เครื่องมือจากผู้ร่วมงานที่แตกต่างกันซึ่งเป็นการยากให้พวกเขาเปลี่ยนมาใช้ให้เหมือนกัน ซึ่งต้องการประสบการณ์และการเรียนรู้ใหม่ นอกจากนั้นการลงทุนทั้งเครื่องมือและบุคลากร ถึงแม้ว่าเครื่องมือเดียวกันมีความสะดวกในระบบการประสานงานก็ตาม รายละเอียดของวิธีการและการควบคุมข้อมูลให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นจนจบเป็นความต้องการที่เกิดประโยชน์กับเจ้าของโครงการ

ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Create a website or blog at WordPress.com

%d bloggers like this: