BIM Collaborative | บางสิ่งที่ควรรู้

การทำงานร่วมกันในกระบวนการทำงานของ BIM เป็นพื้นฐานที่ทุกฝ่ายรับรู้เมื่อมีบทบาทตามหน้าที่รับผิดชอบ ทุกอย่างที่จะขับเคลื่อนการทำงานเกิดจากความร่วมมือและความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการผ่านการบริหารจัดการ ซึ่งไม่อาจจะโยนความรับผิดชอบทั้งหมดไปที่ BIM Manager เพียงคนเดียวโดยขาดการวางแผนและกำหนดขั้นตอนเพื่อให้ทุกฝ่ายบรรลุเป้าหมายร่วมกัน

BIM = (10% Tech) + (90% Sociology)

BIM จะไม่สามารถขับเคลื่อนได้โดยปราศจากมนุษย์ที่เป็นผู้สร้างกระบวนการทำงาน เมื่อเทคโนโลยีมีบทบาทในงานออกแบบก่อสร้างมากขึ้นกระบวนการทำงานมีเงื่อนไขของข้อมูล มาตรฐานเพื่อสร้างกระบวนการทำงาน ระเบียบวิธีต่างๆกำหนดให้ผู้ร่วมงานต้องทำในแต่ละขั้นตอน กระบวนการทำงานไม่ได้ถูกทำให้สำเร็จได้จากเทคโนโลยี แต่อยู่ที่มนุษย์จะเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างสภาพแวดล้อมของการร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ

บนการทำงานร่วมกันมีการทับซ้อนในหน้าที่ของผู้ร่วมทีม การให้ทุกฝ่ายมานั่งสรุปข้อขัดแย้งของการก่อสร้างในห้องประชุมตามกำหนดเวลาต้องการข้อตกลงร่วมกันก่อนการประชุมจะเกิดขึ้น ด้วยความเข้าใจกระบวนการทำงาน การบริหารจัดการ แผนปฏิบัติงานและมาตรฐานการทำงาน ด้วยความรับผิดชอบ

BIM tools and Workflow

สิ่งที่มาพร้อมกับเครื่องมือทางเทคโนโลยีคือกระบวนการทำงานที่มนุษย์ต้องเรียนรู้ผ่านการใช้งาน การสร้างทักษะการใช้งานบนเครื่องมือต่างๆเพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกันด้วยการสร้าง Workflow ให้รองรับความต้องการของโครงการมีรูปแบบตามแนวคิดของการทำงานนั้น สังเกตุจาก BIM Standard หรือ BIM Protocol ระบุไว้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เนื้อหาของการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีคือการทำงานบนฐานข้อมูลบนเดียวกันด้วยเครื่องมือที่แตกต่างกัน

รูปจาก Autodesk

เครื่องมือของ BIM ไม่ได้มีเพียงตัวเดียวที่จะทำงานได้หมดทุกอย่าง เครื่องมือสำหรับการออกแบบ สถาปัตยกรรม วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมระบบและเครื่องกล เครื่องมือสำหรับการประสานงานและการสื่อสาร เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ เครื่องมือสำหรับการวางแผน เครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการทรัพย์สิน ตลอดอายุอาคารมีการใช้งานที่หลากหลายแต่ข้อมูลที่ไหลจากเครื่องมือต่างๆเหล่านี้ตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบจนถึงการส่งมอบอาคารและนำไปสู่การบริหารทรัพย์สินผ่านการทำงานร่วมกันบนกระบวนการที่ถูกจัดการให้ข้อมูลเหล่านี้ถูกต้องและไม่ตกหล่น

Communication and Co-Operation

เนื่องจากเครื่องมือถูกสร้างขึ้นจากผู้ผลิตที่แตกต่างกันตามแนวคิดและมาตรฐานของตัวเองแต่ละค่าย การสื่อสารระหว่างเครื่องมือต้องการตัวกลางที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ที่แสดงข้อมูลที่ตรงกันหลายค่ายพยายามให้ไฟล์จากเครื่องมือสามารุสื่อสารกันได้ ในที่สุด Open Standard จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยไฟล์สกุล IFC ซึ่งใช้ Reference ซึ่งกันและกันความเข้าใจเรื่องนี้ต้องถูกกำหนดขึ้นสำหรับการ Coordination

การสื่อสารด้วยไฟล์ในเครื่องมือ ระบบเครือข่าย หรือ Cloud ต้องการที่จัดเก็บและระบบความปลอดภัย Information Management Standard หรือ Standard Method and Procedure (SMP) ถูกกำหนดขึ้นมาในหลายรูปแบบที่ผนวกกับการสร้างกระบวนการทำงานในการไหลเวียนของข้อมูลตามขั้นตอนการทำงานโดยการกำหนด Naming, Origin and orientation, Annotation และอื่นๆ ด้วยการสร้าง Common Data Environment (CDE) เพื่อควบคุมข้อมูลให้เป็นที่เป็นทางซึ่งมี Workflow เป็นกลไกต่างๆด้วยการกำหนดสถานการณ์ทำงาน การควบคุม Version, Revision บน Classification ให้รองรับ Project’s information requirement สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่จะต้องตกลงตั้งแต่เริ่มต้นการทำงาน

สาระสำคัญบางสิ่งสำหรับ BIM Collaborative แสดงถึงภาพกว้างของการประสานงานให้ผู้ที่ใช้ BIM ได้รับรู้ก่อนการใช้ Model ซึ่งมีผลกระทบในระหว่าการทำงานและยังมีอีกหลายสิ่งที่ยังไม่ได้กล่าวถึง ขณะที่หลายฝ่ายพยายามผลักดันให้เกิดการใช้ BIM มากขึ้นแต่สิ่งที่เราควรเข้าใจระเบียบวิธีของการใช้ BIM มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่สำหรับการทำงานที่ต้องการความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย

ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Create a website or blog at WordPress.com

%d bloggers like this: