CDE | บริบทของการจัดการข้อมูล

การจัดการข้อมูลเป็นหลักการที่เกี่ยวข้องกับ BIM โดยตรงถึงแม้ว่าน้ำหนักส่วนหนึ่งอยู่ที่ Model ก็ตามแต่ผลลัพธ์สุดท้ายคือข้อมูล ความต้องการที่จริงในการใช้ BIM คือการนำข้อมูลมาใช้งานหลังจากการพัฒนาในขั้นตอนการทำงานซึ่งมีการวิเคราะห์และเลือกสรรข้อมูลที่ถูกต้องประกอบการตัดสินใจ ในบริบทของสภาพแวดล้อมของข้อมูลนั้นมีคำอธิบายของ Workflow และ Solution ทั้งในระบบการทำงานและที่อยู่ในระบบของ Coordination tool ที่มีกลไกสำเร็จรูป ความเข้าใจในบริบทการจัดการข้อมูลไม่เพียง CDE เพียงอย่างเดียวยังเกี่ยวข้องกับการทำงานที่แตกต่างในแต่ละโครงการจากมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบในการสร้างข้อมูลและวินัยการทำงานผ่านบริบทของมาตรฐาน ความยืดหยุ่นของระบบการทำงานจึงเป็นศาสตร์ที่ผู้ปฏิบัติงานอาศัยบริบทของความเข้าใจในระบบมาตรฐานที่นำมาใช้

CDE ในมุมมองของ ISO 19650

ในความเป็นจริงแล้ว CDE ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ในจากจัดการในสภาพแวดล้อมของข้อมูล แนวทางการทำงานร่วมกันในการผลิตและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยการทำงานแบบบูรณาการบน Solution และ Workflow ได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นทางการในปี 2007 โดยปัจจุบันคือ BS 1192 มีการใช้งานมากกว่า 10 ปีที่ผ่านการทดสอบจนได้ถูกระบุใน ISO 19650 ด้วยการพัฒนาให้กระชับมากขึ้นซึ่งมาตรฐานนี้มุ่งเน้นการจัดการข้อมูลในงาน Building and civil engineering works รวมถึง BIM ซึ่งมีกรอบการทำงานเพื่อบริหารข้อมูลรวมถึงการแลกเปลี่ยน การบันทึก รวมถึง Version และการจัดระเบียบสำหรับผู้ร่วมงานทุกฝ่ายได้ใช้เพื่อปรับเข้าสู่การทำงานเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือคุณสมบัติที่ซับซ้อนในแต่ละขนาดของโครงการที่มีความยืดหยุนในยุทธศาสตร์ของขั้นตอนการคัดเลือกรวมถึงการนำไปใช้ประกอบประทำเอกสารราคา ซึ่งจะนำมาใช้กับการบริหารข้อมูลระหว่าง Asset management และ Project delivery เมื่อสิ้นสุดโครงการ Information containers จะถูกย้ายจาก Project Information Model (PIM) ไปสู่ Asset Information Model (AIM) โดยใช้ข้อมูลทั้งหมดใน Archive stage พัฒนาการของข้อมูลที่จัดเก็บโดยไม่ตกหล่นจะถูกนำส่งไปใช้ในขั้นตอนการทำงานอย่างถูกต้อง

ทำความเข้าใจกับ CDE

ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติมากสำหรับ Digital solution เช่นระบบการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (EDMS) มีส่วนสำคัญในการนำไปใช้ Solution และ Workflow ของ CDE แต่จะต้องยอมรับว่ามีเทคโนโลยีต่างๆมากมายสามารถใช้ได้ภายใน Single Workflow จากเอกสาร Guidance Part C Edition 1 – September 2020 Facilitating the common data environment (workflow and technical solutions) โดย UK BIM FRAMEWORK อธิบายส่วนประกอบต่างๆของ CDE ภายในบริบทของ ISO 19650 series ว่ามีความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นว่า CDE เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ Technology และไม่เกี่ยวกับ Workflow ในความเป็นจริงแล้วพื้นฐานของ Workflow ได้รับการพัฒนาขึ้นก่อนและ Solution ถูกเลือกเพื่ออำนวยความสะดวกในขั้นตอนการทำงาน นอกจากนี้ยังอาจเข้าใจว่า Single technology solutions มีอิทธิพลเหนือการจัดการข้อมูลของโครงการซึ่งไม่ใช่กรณีและวิธีแก้ปัญหามากมายที่ต้องจัดการข้อมูลโครงการประเภทต่างๆ ตัวอย่างเช่นอาจเป็นการจัดการเรื่องดังต่อไปนี้

  • การจัดการเอกสาร
  • เครื่องมือสำหรับไฟล์การออกแบบการจัดการสัญญา
  • เครื่องมือที่ใช้จัดการข้อมูลทางการค้า
  • เครื่องมือจัดการอีเมลสำหรับการติดต่อ
  • เครื่องมือสื่อสารในการตอบโต้ข้อมูลเพื่อควบคุมคุณภาพในไซต์งาน

Solution ในแต่ละรายการอาจมีความซับซ้อนเป็นพหุคูณและมี Workflow ที่แตกต่างกันเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลนั้นมีการวางแผน การแบ่งปัน การจัดเก็บจัดการอย่างรอบคอบและสามารถเรียกคืนทันเวลาถูกต้องครบถ้วนและสม่ำเสมอจึงแบ่งออกเป็นขั้นตอนที่ระบุเป็นหัวข้อได้แก่

  • Information States
  • Classification of information containers using metadata assignment
  • Revision control using metadata assignment
  • Permitted use of information using metadata assignment

ในขั้นตอนต่างๆ นี้มีองค์ประกอบของการทำงานเป็นขั้นตอนที่เรียกว่า Information container stages ซึ่งระบุให้ผู้ร่วมงานสร้างขึ้นใช้ในหน่วยงานของตนที่กล่าวถึง Metadata ที่ประกอบด้วย

  • Revision code
  • Status code
  • Classification code

ทั้งหมดนี้ใช้ควบคุมพัฒนาการของข้อมูลในระยะต่างๆตามการทำงานมีคำอธิบายอย่างละเอียดใน Guidance Part C ซึ่งแบ่ง Information container stages เป็น Folder ต่างๆที่มีหน้าที่การทำงานกำกับไปด้วยดังนี้

  • Work in progress stage (WIP) บรรจุข้อมูลขณะการทำงานทั้งหมด
  • Share stage บรรจุข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบจาก WIP แบ่งปันให้ผู้ร่วมงานและผู้ว่าจ้าง
  • Published stage บรรจุข้อมูลที่ผ่านการอนุมัติเพื่อนำไปใช้งาน
  • Archived stage บรรจุข้อมูลที่บันทึกจากการนำไปใช้งานแล้ว

ข้อมูลในแต่ละ Stage ต้องมีการตกลงในการนำส่งตามขั้นตอนการทำงานซึ่งระบุไว้ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการบนข้อตกลงร่วมกันซึ่งระบุใน BEP

ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาเพียงสังเขปไม่สามารถขยายความในรายละเอียดทั้งหมด ผู้ที่เคยใช้มาตรฐาน PAS 1192 อาจจะมีความคุ้นเคยมาก่อนแล้ว เหตุที่นำมากล่าวไว้เพราะการใช้มาตรฐาน ISO 19650 เป็นมาตรฐานหลักต้องเข้าใจบริบทที่เป็นสาระสำคัญในการดำเนินโครงการ

(ภาพประกอบจาก Guidance Part C Edition 1 – September 2020 Facilitating the common data environment (workflow and technical solutions) โดย UK BIM FRAMEWORK อธิบายถึง Information container transitioning between states)

ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Create a website or blog at WordPress.com

%d bloggers like this: