BIM Collaborative ใครที่เหมาะเป็นผู้นำของทีม?

ระยะของการออกแบบมีขั้นตอนที่ทุกฝ่ายคุ้นเคยมาก่อนแล้ว ในแต่ละขั้นมีการปรับปรุงเพิ่มเติมแก้ไขของผู้ออกแบบทุกฝ่ายตลอดเวลาตั้งแต่ผู้ออกแบบต้นน้ำไปสู่ผู้ออกแบบปลายน้ำ เพื่อให้งานของทุกฝ่ายสามารถเชื่อมต่อกันได้ต้องมีการประสานการทำงานตลอดเวลาซึ่งเป็นธรรมชาติที่ผู้ออกแบบมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้ว เมื่อ BIM มีบทบาทในการทำงานมากขึ้น การประสานงานผ่านระบบดิจิทัลเป็นการยกระดับการทำงานให้ทุกฝ่ายเข้าหากันได้สะดวก หน้าที่ที่เคยทำมีรายละเอียดมากขึ้นและต้องเข้าใจเทคโนโลยี ในวงจรการทำงานนี้ผู้นำของทีมเพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถทำงานร่วมกันได้ควรจะเป็นใครที่เหมาะสม?

BIM Collaboration

การประสานงานให้ทุกฝ่ายร่วมงานตรงตามความต้องการของโครงการเป็นเป้าหมายหลักที่ต้องการ แต่ผู้ร่วมงานกลุ่มต่างๆ มักจะมีพื้นฐานและวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่างกัน ในงานออกแบบเรามี กลุ่มวิศวกร, กลุ่มสถาปนิก, กลุ่มมัณฑนากร, กลุ่มผังเมือง และอื่นๆ ตามลักษณะของงานนั้นๆ ในแต่ละกลุ่มยังแยกย่อยออกเป็นหน้าที่ต่างๆ รูปแบบการทำงานแตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น กลุ่มสถาปนิกเป็นผู้เริ่มต้นแนวคิดสร้างสรรจากความต้องการเป็นกรอบให้กลุ่มวิศวกรเข้ามาทำงานโดยคำนึงถึงความแข็งแรงและสิ่งอำนวยความสะดวก ลำดับขั้นตอนการทำงานเป็นตัวกำกับให้ผู้ร่วมงานทุกฝ่ายสรุปข้อมูลทีละขั้นไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย การสร้างการประสานงานจึงต้องคำนึงถึงเนื้อในของกลุ่มต่างๆ แนวคิดในการทำงานเป็นทีม การผลักดันให้ทุกฝ่ายเดินไปทางเดียวกัน และรู้จักว่าเราคือใคร กำลังทำอะไร นำไปสู่ผลลัพธ์ที่มีมูลค่า

Collaborative work

สาระในเนื้องานที่จะนำพาให้ทีมบรรลุเป้าหมายจากการประสานงานต้องการผู้ที่สามารถเชื่อมโยงและเข้าใจจัดการให้ทุกฝ่ายเดินร่วมกันได้ขณะที่ความเข้าใจของแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน ตัวอย่างที่ได้เห็นคือภาพเก้าอี้เดียวกันมุมมองของแต่ละคนเรียกแตกต่างกัน เก้าอี้, ม้านั่ง, หรือ ที่นั่ง การจัดการให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจตรงกันต้องใช้ศาสตร์และศิลปะในการบริหารจัดการนั้น มีบางประเด็นที่ผู้ที่ประสานงานนั้นควรทำอะไรได้บ้างเช่น

  • รับรู้แผนการดำเนินงาน เป้าหมายและความต้องการของโครงการโดยแบ่งปันให้ผู้ร่วมงานเข้าใจ
  • มีพื้นฐานของการทำงานเป็นทีมสามารถนำพาให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกัน
  • เสนอเรื่องการทำงานที่มองเห็นในอนาคตได้สามารถระบุปัญหาไม่เพียงแต่แก้ปัญหาอย่างเดียว
  • เข้าใจภาพรวมทั้งโครงการรวมถึงกลไกที่มีความเกี่ยวเนื่อง ไม่ได้มองแต่งานที่รับผิดชอบ
  • นำเสนอความคิดใหม่มาสร้างสรรค์ผ่านเครื่องมือและเทคโนโลยีทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจ
  • สามารถรับรู้ความต้องการจากผู้ร่วมงานโดยเฉพาะเจ้าของงานที่ว่าจ้างว่าต้องการอะไร? จะไปสู่สิ่งนั้นได้อย่างไร?
  • สามารถรับรู้ความเคลื่อนไหวและคาดการณ์ข้อมูลทั้งโครงการไม่ให้ขาดหายไปในระหว่างการทำงานแต่ละช่วง
  • สร้างความรับรู้ในความรับผิดชอบในการส่งมอบและแก้ไขตามขั้นตอนต่างๆ ของการทำงาน

ทั้งหมดเป็นประเด็นหลักในอีกหลายประเด็นที่ควรมีสำหรับการนำพาเพื่อทำการประสานงานขึ้นกับลักษณะของเนื้องานและวิธีการทำงานบนวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่ม

ข้อสังเกต

การรับรู้เพื่อการสื่อสารให้ผู้ร่วมงานทุกฝ่ายสามารถเข้าใจทำงานร่วมกันได้เป็นประเด็นสำหรับผู้ที่ต้องเป็นผู้ประสานงาน การนำไปสู่เป้าหมายนั้นต้องการสิ่งเหล่านี้

  • การเรียนรู้รับฟังอย่างจริงใจเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งก่อนเริ่มต้น
  • รับรู้ว่ากลุ่มต่างๆ มีความแตกต่างและวิถีการทำงานอย่างไรก่อนให้พวกเขาทำไปคนละทิศคนละทาง
  • เก็บสิ่งต่างๆ มาร้อยเรียงเป็นแผนการทำงานบนวิธีที่ทุกฝ่ายสามารถยอมรับได้มากกว่ากำหนดให้พวกเขาทำ
  • การสื่อสารต่องผ่านการคิดก่อนการพูดออกไปโดยไม่มีการไตร่ตรองด้วยความจริงใจ
  • พัฒนาการทำงานด้วยการสร้างกระบวนการที่ทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจเป้าหมายไปสู่มูลค่าตามความคาดหวังของการทำงาน

คุณสมบัติตามที่กล่าวมา มีทั้งเงื่อนไขและคำแนะนำสำหรับผู้ที่จะทำหน้าที่ประสานงานอย่างเกิดประโยชน์ ในวงจรของการทำงาน ใครคือผู้ที่มีความเหมาะสม? ใครคือผู้ที่ต้องทำหน้าที่? และใครคือผู้ที่รู้ว่าต้องทำอย่างไร? ขอความเห็นจากผู้อ่านบทความนี้ว่าท่านพบคนเหล่านั้นมีคุณสมบัติเพียงพอบ้างหรือไม่?

ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Create a website or blog at WordPress.com

%d bloggers like this: