เงื่อนไขความต้องการ การใช้ BIM

ความต้องการใช้ BIM

โครงการต่างๆที่เริ่มไปแล้วและกำลังเริ่มต้นใช้มักจะพบเงื่อนไขของ BIM ที่ไม่แตกต่างกันนัก จากการอ้างอิงเอกสาร, จากแนวทางที่ทำขึ้นมาหรือระบุตามความเข้าใจของผู้เขียนเงื่อนไขให้ประกอบกับการส่งงานโดยมีเกณฑ์ของระดับความละเอียดหรือ LOD ในขั้นตอนการทำงานขั้นต่างๆ ไว้โดยคาดว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ภายหลังได้
ขณะที่ BIM ในยุคแสวงหาได้ผ่านไป ความจริงที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ที่ใช้ BIM เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับการใช้ BIM เพื่ออะไร? ทำให้แบบดีขึ้นไม่มีข้อขัดแย้งหรือต้องการ Model ไปใช้หลังการส่งมอบ? หรือต้องการอย่างอื่นที่ไม่ได้ระบุแต่ต้องการเมื่อเริ่มทำงาน? มีคำอธิบายแต่อาจเป็นสิ่งที่ไม่อยากฟัง!

Model ที่ดี หรือ Model อ้วน

BIM Model ที่บรรจุข้อมูลตาม LOD ที่ระบุในเงื่อนไขการทำงานอาจจะไม่มีข้อมูลที่นำไปใช้ต่อได้หลังการส่งมอบเสมือน Model ที่มีความสมบูรณ์ไปด้วยไขมันดูอ้วนท้วนแต่ไม่แข็งแรง Model ที่มีสุขภาพดีย่อมเป็นประโยชน์ที่แท้จริง การระบุให้ส่งงานด้วยการกำหนดความละเอียดของ LOD เท่ากับบรรจุข้อมูลที่ใช้ได้และไม่ได้ใช้ไว้ทั้งหมด อะไรจะเกิดหลังจากนี้ถ้าทุกโครงการใช้เงื่อนไขแบบนี้? คำตอบอาจจะมีแล้วบ้างก็ได้ถ้าทุกคนมุ่งไปที่การทำให้ครบถ้วนตามสัญญาด้วยการเติมข้อมูลให้เต็มมากกว่าคำนึงถึงการนำไปใช้ประโยชน์ เจ้าของโครงการก็จะได้ Model ที่มีความอ้วนท้วนสมบูรณ์

ตัวอย่างความต้องการจากภาครัฐ

รัฐถือได้ว่าเป็นผู้ว่าจ้างรายใหญ่ที่มีทรัพย์สินครอบคลุมในภูมิภาค การใช้งบประมาณในการก่อสร้างและดูแลจากภาษีเป็นเงินจำนวนมาก ตัวอย่างของสหราชอาณาจักรที่วางยุทธศาสตร์การก่อสร้างของรัฐบาลและเผยแพร่เอกสารในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 โดยให้ความสำคัญถึงปัญหาของแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ดีและไม่สอดคล้องกันซึ่งเต็มไปด้วยความไร้ประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยมาตรฐานในระดับต่ำและฐานของผู้รับจ้างที่กระจัดกระจาย ในกลยุทธ์ที่มีหลายส่วนแต่องค์ประกอบทีเน้นให้เห็นก็คือ
“รัฐบาลจะกำหนดให้ต้องใช้ 3D BIM ที่ทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ (โดยข้อมูลโครงการและสินทรัพย์เอกสารและข้อมูลทั้งหมดจะเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์) อย่างน้อยที่สุดภายในปี 2559”
“รัฐบาลในฐานะเจ้าของงานสามารถปรับปรุงที่มีนัยสำคัญในด้าน Cost และ Carbon performance ผ่านการใช้ Open sharable Asset Information”

ความต้องการ คือ

  1. ลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากข้อมูลที่ล้าสมัยหรือการตีความข้อมูลผิดพลาด
  2. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลกระทบของทางเลือกและการเปรียบเทียบสามารถรับรู้ได้
  3. ขจัดข้อผิดพลาดในการทำ Coordination และการเปลี่ยนแปลงที่มีมูลค่าราคาแพง
  4. ทำให้ข้อมูลไหลลื่นในระหว่างขั้นตอนตลอดวงจรการทำงานเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้แทนที่จะสร้างขึ้นมาใหม่
  5. ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการสร้างและส่งมอบข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานและการบำรุงรักษาในเวลาที่เหมาะสมหลังจากการก่อสร้าง

ตัวอย่างดังกล่าวนำมาสู่การกล่าวถึงข้อมูลทรัพย์สินและการจัดการข้อมูลที่มีมูลค่า ในเวลาต่อมาแนวทางการทำงานทั้งหมดมุ่งสู่การพัฒนาอย่างตรงเป้า

เจ้าของโครงการต้องการอะไร?

“เจ้าของโครงการต้องการ BIM” คือเงื่อนไขในการทำงาน ทุกฝ่ายที่ทำงานร่วมกันมีพันธสัญญาทางกฎหมายที่ระบุเงื่อนไขต่างๆไว้ ความเข้าใจของการใช้ BIM จึงไม่ใช่การส่งงานด้วย Model อ้วน หรือการส่งงานตาม LOD “ประโยชน์ที่แท้จริงสำหรับเจ้าของโครงการคือข้อมูลที่ถูกต้องและนำไปใช้งานได้ตามความต้องการตั้งแต่เริ่มต้นการออกแบบไปจนถึงการก่อสร้าง นอกจากนี้ช่วยควบคุมงบประมาณและเวลาการทำงาน การคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและการดูแลทรัพย์สิน”

เงื่อนไขความต้องการใช้ BIM

ความต้องการใช้ BIM ซึ่งระบุให้ผู้ปฏิบัติงานนำเสนอการทำงานด้านต่างๆ ให้นำส่งข้อมูลความต้องการไปสู่ข้อมูลทรัพย์สินตลอดระยะเวลาของการดำเนินโครงการซึ่งมีข้อพิจรณาในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

  • ด้านเทคนิค กำหนดรายละเอียดของ Software Platform ที่จะใช้งานในโครงการและ LOD ในแต่ละขั้นตอนการทำงานตามความต้องการที่ตอบรับกับข้อมูลของโครงการ
  • ด้านการบริหารจัดการ กำหนดการจัดการที่จะนำข้อมูลมาใช้งานเชื่อมต่อระหว่างกันของ BIM ในโครงการ
  • ด้านพานิชย์กรรม กำหนดรายละเอียดของการส่งมอบ BIM Model ระยะเวลาในการแลกเปลี่ยนส่งต่อข้อมูล และข้อกำหนดด้านข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ความต้องการที่เกิดจากทรัพย์สินใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นจะระบุความต้องการใช้งานจากคำแนะนำตามนโยบายขององค์กรนั้น ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการใช้งบประมาณและผลลัพธ์ในระยะยาว
การกำหนด LOD ประกอบการทำ Coordination ซึ่งจะถูกระบุใน BEP ซึ่งเกิดจากการประชุมเพื่อวางยุทธศาตร์ร่วมกันของทีมงาน
การบริหารจัดการข้อมูลตั้งแต่เริ่มโครงการเพื่อนำไปสู่การบริหารทรัพย์สินด้วย AIM (Asset Information Model) คือความต้องการที่มีประโยชน์

ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Create a website or blog at WordPress.com

%d bloggers like this: