หลายองค์กรหันมามองความสำคัญในการพัฒนาไปสู่โลกยุคใหม่ ถึงแม้ว่า Industrial Revolution 4.0 เป็นคำที่สร้างความตระหักก็ตามแต่สิ่งที่กำลังพบข้างหน้าปรากฎขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่คาด การปรับเปลี่ยนภายในองค์กรไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักโดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ที่มีบุคลากรหลากหลาย แต่การหาช่องทางเพื่อดำรงค์อยู่ในตลาดงานเป็นทางออกที่ทุกฝ่ายต้องทำ เทคโนโลยีเป็นจักรกลที่ขับเคลื่อนไม่ว่าปัจเจกบุคคลที่จัดการข้อมูลของตัวตนกับข้อมูลสาธารณะ ทัศนะและมุมมองที่ต้องการอิสระและเสรีภาพในการใช้ข้อมูล การสร้างแพลตฟอร์มให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมเข้าถึงง่ายมากกว่าการจัดการแบบธรรมดา การสร้างความร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อแบ่งปันมากกว่าต่างคนต่างทำ ปรากฏการณ์เหล่านี้เข้ามาถึงเราอย่างไม่รู้ตัว ก่อนที่จะสายเกินไปปัจเจกบุคคลที่ปรับได้ทันแล้วย่อมดำรงค์อยู่ต่อไปในสภาพแวดล้อมใหม่แต่องค์กรที่มีความอุ้ยอ้ายด้วยวัฒนธรรมการทำงานแบบดั้งเดิมและวิสัยทัศน์การพัฒนายังอยู่คงที่ย่อมประสบความยากลำบากในระยะต่อไป
ความท้าทายในการใช้ BIM
ผู้บริหารองค์กรในระดับบนจนถึงล่างมีความมุ่งหมายในผลิตผลที่ดีและสำเร็จตามความต้องการ ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีด้วยการซื้อมาแล้วใช้งานย่อมมีผลกับการใช้งานที่ไม่สอดคล้องหรือใช้ได้ไม่เต็มที่ ในเบื้องต้นต้องเข้าใจว่าเทคโนโลยีมากับกระบวนการทำงานและเทคนิคการใช้งานตราบใดที่กระบวนการทำงานยังกระจัดกระจายไม่มีระบบ ผู้ผลิตงานจะทำได้เพียงทำชิ้นงานตัวต่อตัวไม่ตอบสนองการทำงานที่เป็นระบบได้ ดังเช่น BIM ก็เหมือนกันซึ่งเป็นระบบในกระบวนการทำงานโดยใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี คำถามจึงเกิดขึ้น “เราใช้ BIM เพื่อให้ตอบสนองการทำงานที่มีระบบของเราหรือเราต้องทำงานตามระบบของ BIM?” ถ้าทำงานตามระบบของ BIM ก็ทำตามที่ผู้ผลิต Software กำหนดให้มากกว่าความต้องการประสิทธิภาพขององค์กรหรือไม่? เส้นแบ่งระหว่าคนกับเครื่องมืออยู่ตรงไหน? การเดินหน้าในการปรับรูปแบบการทำงานให้ก้าวหน้าเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในโลกยุคใหม่จึงไม่ใช่การซื้อมาใช้งานเพียงอย่างเดียว

ไปสู่การพัฒนา
ในเบื้องต้นต้องหันมามองที่ความต้องการที่แท้จริงขององค์กร ซึ่งหมายถึงส่วนลึกของวัฒนธรรมการทำงานและระบบงานที่มีการพัฒนามาอย่างยาวนานและหาจุดลงตัวในการนำเทคโนโลยีมาใช้งาน นโยบายของระดับสูงต้องสอดคล้องกับการพัฒนาจากระดับล่าง จะยกตัวอย่างบางหัวข้อในการพัฒนาดังนี้
- การวางระบบ กระบวนการทำงานที่ถูกสร้างขึ้นให้รองรับการทำงานในภาพใหญ่ขององค์กรให้ตอบสนองทั้งระบบไม่ใช่ทำเพียงจุดใดจุดเดียวเป็นประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับ
- การสร้างทีม เพื่อรองรับงานไม่ใช่เรื่องง่ายซึ่งต้องศึกษาและปรับกระบวนให้รองรับกับเนื้องานได้เช่นการนำส่งงานตามขั้นตอน แผนงานที่สอดคล้องการโครงการ ความเชี่ยวชาญพิเศษเพื่อรองรับงาน ความต้องการของผู้ว่าจ้างในการใช้เทคโนโลยี
- การเลือกใช้เทคโนโลยี การเลือกใช้อย่างเหมาะสมตามการใช้งานส่งผลให้การพัฒนาถูกทิศถูกทาง เทคโนโลยีมีความโดดเด่นที่แตกต่างกันทั้งราคาและความยากง่าย การนำมาใช้งานจึงต้องผ่านการวินิจฉัยและทดสอบก่อนใช้งานจริง
- การปรับใช้ในองค์กร การสร้างความร่วมมือและแบ่งปันเป็นหลักของการทำงานถึงแม้ว่าทักษะที่มีระดับต่างกันต้องใช้การทำงานเป็นทีมมากกว่าต่างคนต่างทำ หมายถึงทัศนะคติที่มองกระบวนการทำงานและเป้าหมายสุดท้ายให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์มากกว่าจบแค่ตัวเอง
- การสื่อสารระหว่ากัน เป็นสภาพแวดล้อมที่ทำให้ทุกคนเข้าใจร่วมกันด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายมากว่าคำศัพท์หรือคำย่อมากมายบนโต๊ะประชุมด้วยเนื้อหาที่รัดกุมและตรงเป้า ยกปัญหามาแก้ไขร่วมกันมากกว่าบอกว่ารู้ทั้งที่ไม่รู้และทำความเข้าใจกระบวนการทั้งหมดด้วยการแลกเปลี่ยนและแบ่งปัน
- ตรวจสอบและแก้ไข การทำงานย่อมเกิดความบกพร่องไม่ว่าจะเป็นที่ระบบหรือคนทำงาน การทบทวนปัญหาเพื่อนำมาปรับกระบวนการทำงานให้ดีขึ้นและสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้ปฏิบัติงานทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น
การพัฒนากระบวนการทำงานเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานซึ่งหลายองค์กรพัฒนาเป็นรูปแบบของตัวเอง BIM จะใช้ได้ดีต่อเมื่อมีคนใช้เป็น การทำงานที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพก็ต้องจัดการระหว่างคนและกระบวนการทำงานที่เข้าใจเป้าหมายของงานที่ดีแล้วจึงปรับใช้เทคโนโลยี ในหนังสือ The Commercial Real Estate Revolution ของ Rex Miller ได้กล่าวถึงสมการที่น่าสนใจดังนี้ “OO + NT = EOO (Old Organization + New Technology = an Expensive Old Organization)”
ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak