PIM | Model ข้อมูลทรัพย์สินโครงการ

นอกจากการใช้ BIM ประกอบงานทางการออกแบบ การวิเคราะห์ แนวคิดเรื่อง BIM Model ที่แสดงรายละเอียดข้อมูลของทรัพย์สินเป็นความต้องการหลักของเจ้าของโครงการหลังจากได้รับมอบอาคารแล้ว พัฒนาการของ BIM Model ตามขั้นตอนการทำงานจึงต้องคำนึงถึงการส่งมอบข้อมูลทีละขั้นของการพัฒนานั้นซึ่งซึมทรัพย์อยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ

Project Information Model (PIM)

คำอธิบายที่มีรายละเอียดเกี่ยวเนื่องกันจากมาตรฐาน PAS 1192 ซึงปรับไปเป็น ISO 19650 แสดงถึงพัฒนาการที่มุ่งเน้นยุทธ์ศาสตร์การบริการจัดการข้อมูลทรัพย์สินตามความต้องการข้อมูลที่ใช้จริง ได้นำมาแสดงให้เห็น ดังนี้

  • PAS 1192 ให้ความหมายว่าเป็น Information Model ที่พัฒนาขึ้นระหว่างการออกแบบเป็น Design intent model ที่แสดงการนำเสนอเจตจำนงของงานออกแบบสถาปัตยกรรมและงานวิศวกรรมและส่งต่อไปสู่ขั้นตอนก่อสร้างของโครงการซึ่งพัฒนาไปสู่ Virtual construction model ให้องค์ประกอบทั้งหมดนำไปทำการติดตั้งในก่อสร้างและการผลิตชิ้นส่วนจากอุตสาหกรรม
  • ISO 19650 ให้ความหมายว่า PIM สนับสนุนการส่งมอบโครงการที่มีคุณูปการต่อ AIM เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการบริหารทรัพย์สินตาม Information needed ที่ตอบกลยุทธ์จุดประสงค์ขั้นสูงของผู้ว่าจ้างที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินอาคารในโครงการซึ่งแบ่งออกเป็นกระบวนการบริหารโครงการและกระบวนการบริหารทรัพย์สิน ชุดของความต้องการข้อมูลที่กำหนดไว้ไม่มีการแก้ไขและควรจัดให้อยู่ขั้นตอนการตัดสินใจระหว่างขั้นตอนของโครงการซึ่งมีการเก็บบันทึกและสามารถนำมาตรวจสอบในระยะยาว

กระบวนการทำงาน

PIM ถูกพัฒนาตามที่กำหนดจาก Information exchange ดังที่ระบุใน CIC Scope of services ในจุดสำคัญคือกระบวนการตัดสินใจของผู้ว่าจ้างที่กำหนดขึ้นจาก EIR และ CIC BIM Protocol (2013) PIM มีข้อมูลตามรูปทรงเลขาคณิตและข้อมูลที่ไม่ใช่รูปทรงเลขาคณิตเป็นไปตาม Master Information Delivery Plan (MIDP)

การนำส่งข้อมูล

กระบวนการนำส่งข้อมูลต้องรวมถึงไฟล์ของผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่กำหนดไว้ตามที่กำหนดเช่น COBie-UK-2012 และ read-only PDF ตามโครงการ BIM Level2 ข้อมูลที่ทำการส่งถ่ายและแบ่งปันเป็นไปตามระบบบริหารจัดการและส่งมอบข้อมูลในระยะเวลาตามขั้นตอนการทำงานภายใน Common Data Environment (CDE) ที่ถูกจัดทำขึ้นสำหรับโครงการ

ISO 19650 ได้ระบุขั้นตอนการทำงานอย่างชัดเจนและลดขั้นตอนที่ซับซ้อนแต่มีกรอบการทำงานเพื่อนำข้อมูลประกอบการตัดสินใจตามพัฒนาการของ PIM ซึ่งถูกจัดไว้ใน CDE รายละเอียดวิธีตามขั้นตอนบอกถึงว่าต้องทำอย่างไร? ใครเป็นผู้รับผิดชอบ? และต้องทำเมื่อไร? นำส่งข้อมูลอะไร? ทำให้การใช้งานมีความชัดเจนมากขึ้น

PIM อยู่ใน Information management process ที่มีการบรรจุข้อมูล การตรวจสอบคุณภาพ และ Review เพื่อ Approve สำหรับการ Sharing ซึ่งต้องคำนึงถึงความต้องการข้อมูล Level of Information Need ความต้องการข้อมูลในการ Coordination กับผู้ร่วมงานทีมต่างๆ โดยมีเงื่อนไขว่าการ Review สำเร็จก็จะนำเอาชิ้นงานที่บรรจุข้อมูลที่ถูกต้องนำไปบรรจุที่ Sharing เพื่อทำ Coordination กับทีมงานอื่นๆ แต่ถ้าชิ้นงานที่บรรจุข้อมูลไม่ถูกต้องก็ยกเลิก การทำงานจะดำเนินไปตามขั้นตอนที่ได้วางไว้ สุดท้ายชิ้นงานที่บรรจุข้อมูลที่ถูกต้องจะนำไปเก็บพื้นที่ Archive ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในสภาพแวดล้อมข้อมูล CDE ที่ได้กำหนดขึ้น

รูปแบบการทำงานที่ข้อมูลทั้งหมดอยู่ใน CDE ทำให้เจ้าของโครงการและผู้ร่วมงานทุกฝ่ายสามารถนำข้อมูลของการพัฒนาโครงการมาใช้งานอย่างไม่ตกหล่น ควบคุม Version ของการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลทั้งหมดถูกดูแลโดยผู้บริหารโครงการผ่าน Information Manager ขั้นตอนการปฏิบัติงานถูกออกแบบและกำหนดวิธีการใน BS EN ISO 19650-2 : 2018 ซึ่งเป็น Part 2: Delivery phase of the assets

ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Create a website or blog at WordPress.com

%d bloggers like this: