The Venues of Tokyo 2020 : ดินแดนแห่งโอลิมปิกโตเกียว 2020

7 ปีกับการเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพงานโอลิมปิก 2020 ของโตเกียว ตอนนี้งานก็ได้เริ่มขึ้นแล้ว

หลังจากการจัดงานครั้งแรกในปี 1964 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่สูงมากๆ ให้กับโตเกียวเอง การจัดงานในครั้งนี้ โตเกียวจัดเต็มด้วย Aquatic Centre ไปจนถึงสนามกีฬาโครงสร้างไม้มูลค่ากว่าพันล้าน ในปีนี้โอลิมปิกได้เตรียมอะไรไว้อีกบ้างเพื่อจะตีเพดานมาตรฐานการจัดงานของตัวเอง

มาตรฐานสูงลิ่ว

ไม่ถึง 2 ทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โตเกียวได้แสดงให้โลกเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างมหาศาลในยุคกลางศตวรรษที่ 20 ด้วยการเป็นเมืองแรกในเอเชียที่ได้รับเลือกให้จัดงานโอลิมปิก โตเกียวได้ลงทุนอย่างมากในการจัดงานและแสดงความสามารถทางด้าน innovation ให้กับทั้งโลกได้เห็น หนึ่งในนี้ก็คือรถไฟ Shinkansen อันโด่งดัง

เทคโนโลยีกับการก่อสร้างก็เป็นปัจจัยหลักอีกครั้งในการจัดงานของปี 2020 นี้

การรักษาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยื่นเป็นหัวใจหลักของการจัดงานในครั้งนี้ หมู่บ้านนักกีฬาเป็นเกาะที่ถูกสร้างขึ้นและใช้พลังงานไฮโดรเจนทั้งหมด จากสถานที่จัดงานทั้งหมด 38 แห่ง 37 แห่งสามารถสร้างพลังงานของตนเองได้ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ เทคโนโลยีความร้อนและความเย็นใต้พิภพ (Geothermal heating and cooling technology)

image of Athletes Village Plaza courtesy of Tokyo 2020

นอกจากอาคารใหม่ 8 อาคารแล้ว สถานที่จัดงานบางส่วนยังเป็นอาคารเก่าที่มีคุณค่า ที่ถูกนำมาใช้อีกครั้งตามที่มีการกล่าวว่างานโอลิมปิกโตเกียว 2020 นั้นเป็น “The Reconstruction Games”

New National Stadium

สร้างบนพื้นที่ของสนามกีฬาเก่าที่ใช้ในปี 1964  สนามกีฬาใหม่นี้มีความจุถึง 68,000 ที่นั่ง และจะใช้เป็นอาคารหลักสำหรับพิธีเปิดและปิดของงานโอลิมปิก รวมไปถึงการแข่ง Football และรายการวิ่งต่างๆ

อาคารมูลค่า 1.4 พันล้านเหรียญนี้ ถูกออกแบบโดย Kengo Kuma สถาปนิกผู้โด่งดังในเรื่องการใช้วัสดุธรรมชาติ อาคารทรงวงรีมีที่นั่งแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แรงบรรดานใจมาจากสถาปัตยกรรมแบบญุี่ปุ่นผสมผสานระหว่างเหล็กและโครงสร้างตาข่ายไม้ (lattice) ไม้ที่ใช้ในการสร้างถูกนำมาจาก 47 จังหวัดทั่วญี่ปุ่น อาคารของ Kengo Kuma สร้างเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2019 ก่อนกำหนดการเปิดงานเดิม ถึง 8 เดือน

image courtesy of Japan Sport Council

อย่างไรก็ดี สนามกีฬาใหม่นี้ก็ได้รับคำถามเกี่ยวกับความยั่งยืนเกี่ยวกับการใช้ไม้จากป่าฝนของประเทศอินโดนิเซียและมาลาเซีย นอกจากเรื่องความยั่งยืนของโครงสร้างแล้ว ก่อนหน้านี้แบบอาคารของ Zaha Hadid ที่ได้รับเลือกไปแล้ว ก็ได้ถูกรัฐบาลยกเลิก เนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณที่เพิ่มขึ้น

Tokyo Aquatics Centre

อาคาร Aquatics Centre ความสูง 4 ชั้นก็เป็นอีกอาคารที่โดดเด่นในโตเกียวโอลิมปิก 2020

image courtesy of Tokyo Metropolitan Government

หลังคาของอาคารที่มีน้ำหนักถึง 7,000 ตัน และความหนา 10 เมตร ถูกสร้างขึ้นเป็นอย่างแรกก่อนส่วนอื่นๆ และค่อยๆ ยกขึ้นไป 3 ขั้นด้วยโครงสร้างเสาทั้งสี่ต้น เพื่อความปลอดภัยของทีมหน้างาน และยังช่วยให้การก่อสร้างเร็วขึ้นและประหยัดมากขึ้น

สระว่ายน้ำหลัก 50 เมตร นั้นสามารถปรับความลึกได้ และยังเปลี่ยนให้เป็นสระ 25 เมตร ได้ด้วยผนังเลื่อน ถึงแม้ว่า Centre จะใช้งบประมาณไปมากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ทางโตเกียวก็มีแผนการใช้งานรองรับหลังจากงานโอลิมปิกจบลง ซึ่งคาดว่าหลังจากนี้จะมีผู้มาเข้าใช้สระมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี

Ariake Gymnastics Centre

อาคารจัดงานในโอลิมปิด 2020 นั้นโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมไม้ อาคาร ARIAKE ที่สร้างบนอาคารเก็บไม้เก่า ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ถูกสร้างออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม

image courtesy of Tokyo 2020

เรียกได้ว่าเป็นการแสดงฝีมือการใช้ไม้ของญี่ปุ่น กับการใช้โครงสร้างไม้โค้ง 120 เมตร ปราศจากเสาที่ใหญ่ที่สุดในโลก การที่ไม่ต้องมีเสาหรือโครงสร้างเหล็ก ทำให้ที่นั่งทั้งหมด สามารถมองเห็นเกมส์ได้สะดวก ผนังภายนอกที่เอียงออกได้รับอิทธิพลมาจาก “Engawa” หรือชายคาบ้านแบบญี่ปุ่น นอกจากนี้แล้ว เก้าอี้และโครงสร้างหลังคายังทำจากไม้อีกด้วย

Yoyogi National Stadium

หนึ่งในอาคารที่เป็นที่น่าจดจำที่สุดของเกมส์โอลิมปิกครั้งแรกของญี่ปุ่นคงจะตกเป็นของ Yoyogi National Stadium ซึ่งในปี 1964 ใช้สำหรับแข่งขัน Aquatic กับเบสบอล และในปี 2020 นี้จะใช้สำหรับแข่งขันแฮนด์บอล

ออกแบบโดยสถาปนิก Modernist ชื่อดัง Kenzo Tange ด้วยโครงสร้างแบบ Suspension ตัวอาคารเป็นรูปโค้งเว้าจากโครงสร้างตรงกลางออกมาเหมือนผ้าม่าน ผสมผสานระหว่างความทันสมัยแบบตะวันตกและทรงโค้งของวัดวาอารามแบบญี่ปุ่น

สำหรับงานโอลิมปิก 2020 นี้ Yoyogi ได้ถูกปรับปรุงสำหรับป้องกันแผ่นดินไหว และเพิ่มการใช้งานให้มีผู้เข้าชมได้ถึง 10,000 คน ตามที่คาดการณ์ไว้

Nippon Budokan

อีกหนึ่งในอาคารประวัติศาสตร์ เป็นจิตวิญญาณของศิลปะการต่อสู้แบบญี่ปุ่น เมื่อปี 1964 อาคารนี้ได้เปิดตัวกีฬายูโดในการแข่งขันโอลิมปิกเป็นครั้งแรก นอกจากจะใช้สำหรับการแข่งขันยูโดในปีนี้ด้วยแล้วนั้น ยังจะใช้เป็นการเปิดตัวอีกกีฬาสำหรับโอลิมปิก 2020 นั่นก็คือ คาราเต้ 

ที่ผ่านมา อาคารยังได้กลายเป็นสถานที่จัดงานดนตรีให้กับนักดนตรีชื่อดังมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Bob Dylan หรือ The Beatles.

image courtesy of Tokyo 2020

หลังคาของอาคารให้ความรู้สึกเหมือนภูเขาไฟฟูจิ ในขณะที่ฐานแปดเหลี่ยมถูกดัดแปลงมาจาก Yumedono Hall อาคารไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกของวัด Horyuii

ในที่สุดความตื่นเต้นของงานโอลิมปิกก็ได้มาถึงแล้ว อาคารถูกสร้างเรียบร้อย และงบประมาณที่ตอนแรกดูเหมือนจะเลยเถิดไปมากก็ถูกควบคุมให้อยู่ภายใน 1 หมื่นล้านเหรียญ เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณของโอลิมปิก 2008 ที่ปักกิ่ง ที่ใช้งบประมาณไปถึง 4 หมื่นล้านเหรียญ

ไม่ว่าจะมีความกังวลเกี่ยวกับความยั่งยืนซักเพียงใด งานกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยหากไม่มีความยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างร่วมด้วย

ที่มา : https://www.theb1m.com/video/the-venues-of-tokyo-2020

Narrated by Fred Mills. Additional footage and images courtesy of Christian Kaden, Google Earth, Japan Sport Council, Shuets Udono, Tokyo 2020, Tokyo Metropolitan Government, Vincent Hecht and Zaha Hadid Architects.

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Create a website or blog at WordPress.com

%d bloggers like this: