BIM Execution Plan (BEP) คืออะไร?

เอกสารสำคัญที่จะช่วยให้การบริหารโครงการเพื่อบริหารจัดการข้อมูลทั้งหมดให้ผู้ร่วมงานดำเนินงานตามจุดประสงค์ความต้องของโครงการให้เป็นไปตามมาตรฐานการทำงาน เอกสารทั้งหมดเสมือนข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ร่วมงานเพื่อให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานด้วยการประสานงาน ทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนข้อมูล และนำส่งโครงการตรงตามเป้าหมาย

เพื่อให้ผู้ร่วมงานทุกฝ่ายสามารถนำ BIM ใช้งานอย่างสัมฤทธิ์ผลจำเป็นต้องมีเอการที่เป็นแนวทางวิธีการดำเนินงานตามความตกลงในแผนปฏิบัติงานที่ถูกสร้างขึ้นตามความต้องการการใช้งานของโครงการนั้น ๆ โดยมีสาระหลักซึ่งแบ่งออก ดังนี้

  • BIM Uses ความต้องการใข้งานเป็นอันดับแรกในการดำเนินงานเพื่อให้ผู้ร่วมงานเข้าใจขอบเขต เวลา และจัดเตรียมทรัพยากร ความสามารถเพื่อรองรับการทำงาน
  • Schedule แผนปฏิบัติงานให้ทีมสามารถดำเนินงานตามขั้นตอนการทำงานโครงการด้วยวิธีของ BIM ที่เปลี่ยนไปจากวิธีการทำงานแบบเดิม ผู้ร่วมงานจึงต้องทำความเข้าใจในขั้นตอนต่างๆ
  • Technology ผู้ร่วมงานทุกฝ่ายทำงานร่วมกันด้วยการส่งถ่ายข้อมูลบน Software ของตนเอง เช่นการจัดการ Version และ File type File Naming รวมถึงระบบการเชื่อมต่อ
  • BIM Team ทักษะการใช้เทคโนโลยี หน้าที่และความรับผิดชอบตามขั้นตอนการทำงาน การทำงานระบบทีม การประสานงานในระดับต่างๆตามแผนปฏิบัติงาน
  • Standard มาตรฐานการใช้ BIM ตลอดอายุการใช้งานอาคาร รวมถึงมาตรฐานวิธีการสร้าง BIM Model การจัดการข้อมูลเพื่อประสานการทำงาน
  • Communication การสื่อสารเป็นหัวใจสำคัญในการประสานงานร่วมกันประกอบการตัดสินใจโดยการแบ่งปันข้อมูลและการจัดการข้อมูลใน BIM Model
  • Project Meeting การประชุมตามระยะเวลาของโครงการโดยกำหนดวาระการประชุมเพื่อหาข้อสรุปในข้อขัดแย้งของการทำงานซึ่งกำหนดขึ้นตามสาระงานตลอดระยะเวลาของโครงการ
  • Model Structure โครงสร้าง Model ที่เป็นรูปทรงเรขาคณิตของผู้ร่วมงานที่แบ่งตามหน้าที่ลักษณะการทำงาน การกำหนดชื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจนำไปประสานงาน
  • Quality Control การควบคุมคุณภาพของการทำงานในระหว่าพัฒนาการทำงานด้วยการกำหนดรายการตรวจสอบและเงื่อนไขในแต่ละขั้นตอนให้ผู้รวมงานพัฒนา BIM Model

เพื่อบูรณาการ BIM ให้อยู่ในการนำเสนองานของโครงการกระบวนการทำงานร่วมกันของทุกฝ่ายต้องมีทิศทางตามเป้าหมายให้ดำเนินโครงการอย่างถูกต้อง การสร้างแผนปฏิบัติงานตั้งแต่เริ่มงานให้ทุกฝ่ายเข้าใจในการสื่อสาร การแลกเปลี่ยนข้อมูล หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ร่วมงานโดยใช้เทคโนโลยีช่วยให้ลดความศูนย์เสีย เวลา และความเสี่ยงในการบริหารจัดการ

ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนปฏิบัติงานตามนโยบายและเป้าหมายตามความต้องการของโครงการ อ้างอิงถึง BIM standard, BIM Protocol, Standard Method and Procedure, Common Data Environment, Information Management และอื่นๆที่จะต้องมีการนำมาใช้งาน BIM Manager จะต้องเป็นผู้จัดเตรียมและรวบรวมให้ผู้ร่วมงานนำไปประกอบการใช้งาน

BIM Execution Plan (BEP) ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นตามสภาพการทำงานนั้นๆ การนำเรื่องนี้มากล่าวอีกครั้งเพื่อสร้างความเข้าใจถึงระเบียบวิธีในแนวคิด ปัจจุบันรูปแบบการใช้ BEP มีหลักที่แตกต่างไป ผู้ปฏิบัติงานมักจะพบกับปัญหาในการใช้งานที่ไม่สอดคล้องกับการทำงานจริง การสร้าง BEP หลังจากเริ่มโครงการไปแล้ว การทำให้ BEP เหมือนคำสั่งให้ทำงานเหมือนกัน ผู้ร่วมงานไม่เข้าใจเอกสารฉบับที่ถูกสร้างขึ้นจากที่ปรึกษา เอกสารไม่ตอบรับความต้องการของโครงการอย่างแท้จริง ผลที่ได้รับคือภาระงานที่พอกพูนขึ้นระหว่าการทำงานมากกว่าจะทำงานได้จริง สิ่งที่ศูนย์เสียในการทำงานเป็นความล้มเหลวของ BEP ซึ่งผู้กำกับดูแลต้องรับผิดชอบ หัวข้อต่อไปจะกล่าวถึงตัวอย่างของเอกสารที่ระบุเนื้อหาของ BEP

ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak

ใส่ความเห็น

Create a website or blog at WordPress.com