เมื่อย้อนกลับไปจากความรุ่งเรืองของ BIM ในปี 2003 ที่วงการอุตสาหกรรมมีการยอมรับการออกแบบก่อสร้างเสมือนจริง Virtual Design & Construction (VDC), Integrated Project Models, Building Product Models ด้วยการกำหนดคำจำกัดความเหล่านี้ นักพัฒนาซอฟต์แวร์หลายรายได้สร้างสินค้าที่เกี่ยวกับ object-oriented modeling เหมือนกับที่ Chuck Eastman เคยกล่าวไว้ในปี 1970 หลังจากนั้นในปี 2002– 2003 Jerry Laiserin ซึ่งเป็น AEC Industry Analyst เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม BIM ซึ่งได้รับรองจาก G.A. van Nederveen และ Tolman ในปี 1992 และต่อมาได้กลายเป็นคำจำกัดความที่ใช้กันอยู่ทั่วไปโดย Phil Bernstein ของ Autodesk เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับใช้ในการจัดการกับการวางแผน การออกแบบ การส่งมอบ และกระบวนการปฏิบัติงานแบบองค์รวมภายในวงจรชีวิตอาคาร ความเคลื่อนไหวนี้ทำให้เกิดประเด็นที่มีความอ่อนไหวทางวัฒนธรรมและมีความเกี่ยวข้องทางวิชาชีพเป็นจำนวนมาก โดยธรรมชาติแล้ว disruptive process ด้วยการนำ BIM มาใช้จะพลิกโฉมพันธสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาปนิก, วิศวกร, ผู้รับเหมา และลูกค้ามาอย่างยาวนาน ด้วยเหตุนี้ BIM Manager จึงถูกดึงเข้าสู่ศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ในทางปฏิบัติวิชาชีพ
ย้อนจากอดีต
ในปี 1970 เป็นยุคแรกที่ยังไม่มีความชัดเจนในการพัฒนา BIM ในเชิงพานิชย์บน Mainframe Computers ผู้ผลิต BIM Platform ไม่ต่ำกว่า 4 รายพัฒนาเพื่อเพิ่มการประมวลผล มีการเชื่อมต่อที่ดีขึ้น ขณะที่ราคาที่ลดลงของเครื่องมือ ทำให้มีการใช้มากขึ้นจนถึงปี 2000 ทำให้ตอบสนองกับการใช้งานง่ายขึ้นมีราคาที่จับต้องได้ก็เริ่มเข้ามาแทนที่ CAD ซึ่งใช้กันมาอย่างยาวนาน จุดเปลี่ยนนี้ทำให้ CAD Manager เป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลการนำ BIM ไปปฏิบัติงานในองค์กรมากที่สุด เพื่อผลิตงานให้รองรับการสร้าง Plan, Elevation, Section และ Document ในรูปของ 2D ซึ่งทำอยู่ในกลุ่มของผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรโครงสร้าง ด้วยวิธีนี้มีผลกระทบกับผู้รับเหมาและวิศวกรในสนามก่อสร้างที่ยังขาดความพร้อมของเครื่องมือ จนในที่สุดถึงปี 2010 มีความสมบูรณ์ในการใช้งานมากขึ้นเพื่อรองรับการทำงานตลอดโครงการ การปรับเปลี่ยนจาก CAD Manager ไปสู่ BIM Manager ด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์
ประสบการณ์และการเรียนรู้
ขอบเขตที่กว้างขวางของ BIM เกี่ยวพันกับการทำงานผู้ที่อยู่ต่างสาขามีความท้าทายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งเดิมก็ยังไม่สามารถประสานงานกันได้อย่างดี บนความต้องการของโครงการมักจะเป็นข้อกำหนดหลักของการใช้ BIM ตำแหน่ง BIM Manager จึงต้องมีทักษะและความสามารถในระดับสูง ขณะที่การพัฒนาบุคลากรด้านนี้ยังไม่มีระบุในระบบการศึกษาพวกเขาจึงเกิดจากตัวแทนของผู้ออกแบบหรือผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่นๆ หลังจากปี 2010 เป็นต้นมาองค์กรวิชาชีพและสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตร BIM Management ที่มีการรับรองอย่างเป็นทางการ

หลักสูตรดังกล่าวมีพื้นฐานที่ครอบคลุมในบริบทของ BIM Management ดังตัวอย่างของประเทศสิงคโปร์กำหนด BCA BIM certifications ของตนเอง ในปี 2011– 2012 โดยเป็นส่วนหนึ่งของ BIM Academy ในช่วงเวลาเดียวกัน HKBIM ในฮ่องกงได้มีข้อกำหนดในการเข้าเป็นสมาชิก อีกด้าน The Associated General Contractors of America (AGC) ได้มีโปรแกรมการศึกษาในหลักสูตร Certificate of Management-Building Information Modeling (CM-BIM) ต่อมาอีกไม่นานในปี 2016 Building Research Establishment Limited (BRE) ของประเทศอังกฤษได้ประกาศหลักสูตรการสอนภายใต้แนวทาง BIM Level 2 สำหรับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแยกตำแหน่งงานออกเป็น Task Information Managers (TIM), Project Information Managers (PIM), Project Delivery Managers (PDM) ครอบคลุมอย่างต่ำในภาพกว้างทั้งหมดโดยการรับรองของ RICS ในปี 2013 ถึงต้นปี 2014 ซึ่งเกี่ยวไปถึงเบื้องต้นของ BIM Management Chartered Surveyors ในประเทศแคนาดา Canada BIM Council, CanBIM ร่วมกับผู้ประกอบการจัดทำหลักสูตร A benchmark for individuals to be certified to nationally standardized and recognized levels of BIM Competency and Process Management.
หลักสูตรดังกล่าวมีการเรียนรู้ไม่ต่ำกว่า 4 ปี บุคลากรด้านนี้จึงออกมาสู่ตลาดอุตสาหกรรม การพัฒนาทางการศึกษาเป็นผลจากนโยบายระดับชาติที่วางเป้าหมายและกรอบการทำงานให้สถาบันการศึกษาสามารถผลิตบุคลากรตรงตามความต้องการ ตำแหน่ง BIM Manager นอกจากเรียนรู้จากห้องเรียนต้องผ่านประสบการณ์ เพราะ BIM เป็นสิ่งที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา การนำไปใช้เกี่ยวข้องกับทัศนคติ, แนวคิดและแนวทางการจัดการร่วมกัน ข้อมูลของผู้ทำงานร่วมกัน ความพยายามใดๆ ในการกำหนด Best Practice BIM จะต้องนำมาพิจารณา พิจารณาลักษณะการเปลี่ยนแปลงของ BIM ที่มีอิทธิพลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบจากการใช้งาน เราเรียนรู้จากตัวอย่าง และเมื่อพูดถึง BIM ตัวอย่างเหล่านั้นมักจะมีประเด็นต่างๆ อีกมากมายผ่านบริบทที่แตกต่างกัน นอกจากด้านเทคโนโลยีแล้วยังเกี่ยวกับการปฏิบัติวิชาชีพ วัฒนธรรมการทำงาน และสิ่งที่เกี่ยวกับการตลาด
ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak