BIM – Single Model 2/2

ในการทำงานตามรูปแบบประเภณีนิยมที่เอกสารประกอบการทำงานอ้างอิงกับแบบสำหรับก่อสร้างซึ่งผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมทำการออกแบบตามวิธีการก่อสร้างให้ผู้รับเหมานำไปดำเนินตามวิธีการก่อสร้าง ข้อขัดแย้งของแบบถูกนำมาแสดงก่อนการก่อสร้างในขั้นตอนต่างๆโดยประมวลผลจากรูปแบบ วัสดุ ความสามารถในการก่อสร้าง การวางแผน และการจัดการหน้างาน สิ่งที่รับรู้ปัญหามักเกิดขึ้นโดยมีระยะเวลาตัดสินใจอันน้อยนิดและไม่สามารถเข้าถึงปัญหาไปอย่างชัดเจนและรวดเร็ว ต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์มาประมวลผลของปัญหาข้อขัดแย้งจากแบบแต่ละประเภท จากที่ได้กล่าวมา Gregory P. Luth ซึ่งเป็นวิศวกรโครงสร้างผู้ที่เสนอแนวคิดการทำให้คุณภาพของ Model สูงขึ้นด้วยความละเอียดของข้อมูลเพื่อนำมาใช้งานตลอดระยะเวลาการทำงาน

บททดสอบ HiDef BIM

แนวคิด HiDef BIM โดยเรียกว่า HD BIM™ ของ Gregory P. Luth ได้นำมาใช้กับงานด้าน Estimating, Bidding และ Change Management ทำให้เขาสามารถคาดการณ์ตามขั้นตอนการทำงานโครงสร้างและงานสนามด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพ ด้วยการเพิ่มความละเอียดที่เที่ยงตรงโดยการใช้ fixed-price estimate ในบางส่วนของงานเพราะ subcontractor ไม่ต้องการรับผิดชอบในสิ่งที่มองไม่เห็นมักจะเสนอราคาที่สูงไว้ก่อน หรือบางครั้งปริมาณจะรับทราบต่อเมื่อแบบ shop drawing ได้ทำเสร็จแล้วไม่ทันการก่อสร้างที่ทำไปแล้ว ราคาสุดท้ายจะถูกปรับตามกระบวนการ Change-order ที่ปรับตามกระมาณการจาก Concept drawing ด้วยวิธีการของ HiDef BIM ใช้ unit price ซึ่งถอดปริมาณที่แน่นอนจาก Model แล้วนำมาปรับเป็นปริมาณที่เป็นจริงเพื่อส่งงานอีกครั้ง วิธีนี้ลดค่าใช้จ่ายการงาน Requests For Information (RFI) ด้วยผลของราคาทำให้ subcontractor สามารถทำงานติดตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพจากผลของการเปรียบเทียบราคาและ cost of risk ที่เกี่ยวกับการประมาณการแบบเดิมจะถูกตัดออกจาก cost of project เพื่อให้ถูกต้องอย่างสมบูรณ์ risk จึงไม่ได้ถูกตัดออกเสียทีเดียวแต่โอนไปยังผู้ตรวสอบซึ่งไม่ใช่คำตอบที่ผู้ออกแบบหลายคนพอใจ

ด้วยการสร้าง Model ที่มีรายละเอียดอย่างเที่ยงตรงตาม Design Intent รวมถึง Construction Detail สามารถส่งแบบ Shop Drawing ให้กับ supplier ทันตามสัญญาที่ตกลงได้เริ่มต้นอีกทั้ง Model สามารถส่งต่อให้ Fabricator นำไปทำ Shop Drawing ได้เลย อีกตัวอย่างที่ทำให้ประหยัดเวลาการทำงานได้ก็คือการทำ rebar detail สามารถทำแบบ detail ที่แก้ปัญหาแล้วให้ผู้ตรวจสอบได้ถูกต้องตามกระบวนการของ RFI กระบวนการที่ใช้ IPD และ HiDef BIM ทำขึ้นเพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการก่อสร้าง วิศวกรโครงสร้างต้องเป็นผู้นำในการวางแผนการจัดการงานเปลี่ยนแปลงประกอบด้วยเอกสารและ shop drawing ในเวลาเดียวกันซึ่งต้องมีวิธีการจัดการสื่อสารให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น

ข้อจำกัดของแนวคิด

แนวคิดของ Gregory P. Luth มีผลต่อกระบวนการออกแบบเดิมที่เป็นอยู่ด้วยความต้องการข้อมูลที่มีความละเอียดสูงทำให้ผู้ออกแบบหน้าที่อื่นๆต้องปรับวิธีการทำงานเข้าหาโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูง มีประเด็นจากหลายเหตุผลที่ผู้ร่วมงานอื่นๆไม่สามารถปรับเข้าหาได้ เช่น

  • เจ้าของงานไม่ต้องการจ่ายค่าบริการออกแบบเพิ่มเติมจากการทำงานในระบบนี้
  • ขอบเขตของงานออกแบบที่มีรายละเอียดเฉพาะขั้นออกแบบซึ่งไม่รวมถึงวิธีการก่อสร้าง
  • ผู้ออกแบบใช้ Software คนละชนิดกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับเหมาจึงไม่สามารถนำ Model มาร่วมกันตรวจสอบได้
  • ผู้ออกแบบจะไม่ส่ง file ต้นฉบับให้ผู้ร่วมงานด้วยเงื่อนไขสิทธิทางปัญญาหรือไม่ก็ส่งให้ในรูปแบบอื่นที่ไม่สามารถนำไปแก้ไขได้
  • การส่งต่อข้อมูลระหว่าง Software ของแต่ละค่ายไม่สามารถทำให้สมบูรณ์ได้เพื่อนำไปใช้การสั่งงานต่อไปยังเครื่องจักรที่ใช้ผลิตชิ้นส่วนงานหรือการส่งต่อยัง Analytical Software ที่ใช้กับโครงสร้าง
  • ข้อจำกัดของ Software ของแต่ละค่ายที่มีจุดประสงค์ในการสร้างขึ้นมาใช้งานได้แตกต่างกันทำให้ข้อมูลมีการทับซ้อนกันทำให้การรวม Model เข้ามาทำงานร่วมกันไม่สามารถทำได้อย่างราบรื่น

แนวคิดดังกล่าวต้องการผู้ที่สามารถนำการทำงานโครงการอย่างชัดเจนเช่นกระบวนการ IPD และต้องมีประสบการณ์ทางวิชาชีพสำหรับงานออกแบบ งานก่อสร้าง ทุกสาขาอีกทั้งเข้าใจกระบวนการทำงานทั้งหมดเพื่อควบคุมความละเอียดที่ต้องการใน Model ซึ่งความจุของข้อมูลที่สูงต้องการ sever ที่รองรับให้ทุกฝ่ายเข้ามาทำงานในขณะเดียวกันจากผู้ออกแบบแต่ละสาขาต้องการนำไปวิเคราะห์ด้านต่างๆรวมถึงผู้รับเหมาที่ต้องนำไปใช้งานก่อสร้าง งานเปลี่ยนแปลง งานติดตั้งอุปกรณ์ตลอดจนการผลิตชิ้นงานจากเครื่องจักร ทั้งหมดนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากทีมงานทุกฝ่าย ข้อจำกัดนี้มีกรอบและเงื่อนไขเฉพาะไม่ได้นิยมนำมาใช้ในปัจจุบันด้วยเงื่อนไขดังที่กล่าวมา

ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Create a website or blog at WordPress.com

%d bloggers like this: