BIM Model | แนวคิดในการใช้งาน

เรื่องของการใช้ BIM Model ในการทำงานมีแนวคิดที่แตกต่างจากความเข้าใจ ตามทัศนะการให้ความหมายหรือตีความตามจิตนาการไปได้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อตอบสนองกับความต้องการ ระหว่างความต้องการตามจินตนาการกับผลจากการทำงานจริง จึงเป็นสิ่งที่ต้องเลือกเส้นทางเดิน แน่นอนว่าอุปสรรคหรือกลไกการทำงานมีความแตกต่าง ทั้งข้อดีและข้อเสีย ผลสรุปของสิ่งที่จะกล่าวต่อไปเป็นผลจากประสบการณ์ที่ได้พบระหว่างทำงาน

การทำงานในปัจจุบัน BIM Model มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนการทำงานด้วย Model ของผู้ออกแบบต่างสาขา ซึ่งต่างคนก็ต่างมี Model ของตนเอง ต่างก็นำเอาไปวิเคราะห์หรือคำนวนในวาระตามขั้นตอนการพัฒนา คำถามคือ Model ไหนคือ Model นำมาตรวจงาน? Model ไหนที่นำเอามาคิดปริมาณได้ ณ เวลาไหน? ณ วันที่ตรวจ Model อาจจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมจาก Model ที่ส่งมาแล้วจากผู้ออกแบบ ทุกหน้าที่ รอให้หยุดพัฒนา Model เพื่อนำมาตรวจหรือวิเคราะห์ก่อนได้หรือไม่? ถ้ามีการปรับเปลี่ยนแล้วต้องการ Model ที่เคยตรวจครั้งก่อนหน้าเอามาทำต่อเราจะถอย Model กลับไปสู่จุดนั้นได้หรือไม่? แล้วแน่ใจได้ไหมว่าข้อมูลที่แก้ไขกับข้อมูลที่ตรงตามความต้องการจะนำไปใช้ได้ตลอดโครงการ? ผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาคงมีคำตอบและวิธีในการจัดการเรื่องต่างๆ นี้

แนวคิดของ BIM Model

ในยุคเริ่มต้นของ BIM มีแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างภาพจำลองสามมิติที่มีข้อมูลประกอบการใช้งานเป็น Data Model หรือ Product Model จนมาถึงการสร้างเครื่องมือมารองรับเพื่อนำไปใช้งานวิเคราะห์แทนที่การสร้างหุ่นจำลองจากของจริงซึ่งเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลา ตัวอย่างจากการทดสอบการออกแบบเครื่องบินโบอิง หลังจากคอมพิวเตอร์พัฒนาความเร็วมากขึ้นรองรับการประมวลผลให้องค์ประกอบ Model ได้ดีขึ้น นำไปสู่การใช้กับงานอาคาร Data กับ Model ก็ถูกเรียกว่า Building Information Model

ในระยะแรกแนวคิดการบรรจุข้อมูลใน Model ยังดำรงอยู่ระยะหนึ่ง ภายหลังได้มีการใช้งานมากขึ้น ทิศทางของ Information Model ทำงานได้หลากหลาย จึงเลือกใช้งานตามหัวข้อ BIM Uses

จากผลการวิจัยความถี่ของการใช้งาน BIM ใน 24 หัวข้อจากมากไปสู่น้อยโดย Kreider, Messnerand Dubler ซึ่งถูกนำมาใช้ในปัจจุบัน เมื่อข้อมูลมีความแตกต่างและหลากหลายปริมาณความจุของ Model ต้องรองรับตลอดทั้งโครงการ การควบคุมคุณภาพและการการบริหารจัดการ Data จึงถูกพูดถึงมากขึ้น

หลังปี 2010 มีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ จากแนวคิดที่พัฒนาจากปัญหาการทำงานที่มีผู้ร่วมงานจากต่างสาขาที่มีเครื่องมือไม่เหมือนกัน มีความต้องการจัดการข้อมูลใน Model ที่สามารถจัดการได้ตลอดโครงการ ขณะเดียวกันผู้ผลิต Software สองรายที่ครองพื้นที่ตลาดส่วนใหญ่ได้สร้างเครื่องมือการใช้งานสำหรับผู้ร่วมงานทุกฝ่ายในนิเวศของการออกแบบก่อสร้างให้ใช้ Native files ที่ใช้เครื่องมือเดียวกันในการสื่อสารขณะทำงาน แต่ในความเป็นจริงยังมีเครื่องมือ Software จากค่ายอื่นๆ ที่ถูกใช้อยู่ในตลาดอีกไม่น้อย

แนวคิดของ Open BIM จึงเกิดขึ้น Industry Foundation Classes (IFC) ซึ่งเป็น neutral และ non-proprietary data format ถูกนำมาใช้ในการ Exchange และ Share Information การใช้ Model ในตลาดจึงเกิดทางเลือกให้ผู้ร่วมงานใช้ Native files เดียวบน Software เดียวกันตลอดโครงการ หรือการใช้ Software ตามการใช้งานจากผู้ออกแบบหรือผู้ร่วมงานอื่นๆ แต่สื่อสารได้ด้วย Open BIM ซึ่งระยะหลังการตอบสนองการใช้ IFC ของผู้ผลิตทุกค่ายเห็นพ้องต้องกันให้ใช้งานมีมากขึ้น Building Model ถูกพัฒนาการทำงานร่วมกันเป็น Information Model และสื่อสารกันได้เป็นสากล

สองทางแยกของแนวคิดยังดำรงอยู่เป็นทางเลือกให้ผู้ที่วางแผนการนำไปใช้งานในโครงการนำศาสตร์และศิลปะในความเข้าใจเรื่อง BIM ปรับใช้กับการทำงานบนการบริหารข้อมูลตามความต้องการ แนวทางที่นำไปใช้กับผู้ออกแบบต่างสาขาและต่างเครื่องมือถูกพัฒนาวิธีการทำงานซึ่งมีความชัดเจนมากขึ้นเป็นลำดับ ผู้ที่จะเริ่มต้นการทำงานต้องพิจารณาเลือกแนวทางจากการประเมินการใช้งานจากทุกฝ่ายที่ร่วมงาน แนวคิดของ Single Model หรือ Federated Model กับ Data environment ที่มีความเกี่ยวพันกันเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกระบวนและหลักการใช้งานสำหรับทุกๆ ฝ่าย

ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Create a website or blog at WordPress.com

%d bloggers like this: