Level of Development (LOD) คืออะไร?

พัฒนาการของ BIM Model ตามขั้นตอนการปฏิบัติงานจะกล่าวอ้างถึง LOD ซึ่งมักจะระบุใน BIM Execution Plan (BEP) ที่แสดงความละเอียดของข้อมูลเพื่อให้ทีมงานสามารถพัฒนา Model ของแต่ละฝ่ายให้มีเนื้อหาของข้อมูลที่สื่อสารระหว่างกันทำงานร่วมกันได้ ทั้งหมดนี้ย่อมมีข้อมูลทั้งรูปทรงเรขาคณิต ข้อมูลทรัพย์สินและข้อมูลที่เป็นเอกสาร

Level of Development (LOD) คืออะไร?

ความหมายของ LOD ถูกพัฒนาขึ้นมาจากแนวคิดของแต่ละภูมิภาคที่อธิบายความละเอียดของข้อมูลในแง่ต่างๆ ในยุคแรก Vico Software (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ Trimble) เป็นบริษัทที่ผลิต Construction costing software เสนอแนวคิดเรื่อง Model Progression Specification (MPS) เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการข้อมูลภายใน BIM Model เรียกว่า Level of Detail (LOD) แนวคิดแบบเดียวกันนี้ได้รับการยอมรับจากสถาบันสถาปนิกอเมริกัน (AIA) ถูกพัฒนาไปใช้กับขั้นตอนการทำงานเพื่อวิเคราะห์ด้านอื่นๆและเรียก Level of Development (LOD) และได้กำหนดระดับด้วยตัวเลขเป็น LOD 100, LOD 200, LOD 300, LOD400, LOD500 ขอบเขตของข้อมูลจึงมีความเชื่อมโยงกับงานด้านอื่นๆมากขึ้น

ทำไม?

แนวคิดเหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นหลายภูมิภาคเพื่อนำมาใช้ประกอบกับ BIM Model โดยเนื้อหาให้แสดงพัฒนาการของสิ่งที่ทำขึ้นตามขั้นตอนการทำงานประกอบความต้องการใช้งาน ซึ่งต้องการข้อมูล Graphic, Non Graphic, Asset Data, Documentation เพื่อแสดงผลตามขั้นตอนการทำงานประกอบการตัดสินใจ เนื้อหาของข้อมูลเกิดจากความต้องการใช้ข้อมูลที่กำหนดจากเจ้าของโครงการให้ทีมงานสามารถนำส่งมอบเมื่อเสร็จโครงการ

เกี่ยวกับอะไร?

ความเกี่ยวเนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ทำให้เกิดการตีความได้หลายอย่างและกรอบของผู้ร่วมงานจะต้องทำความละเอียดในระดับไหนของช่วงเวลาการทำงานนั้น เครื่องมือหนึ่งที่นำมาใช้คือการกำหนดเป็นตารางที่ระบุขั้นตอน ระดับความละเอียด ผู้ที่รับผิดชอบ เป็น LOD Tables ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละมาตรฐาน เช่น

  • Vico software ใช้คำว่า “Model Progression Specification”
  • (US)AIA ใช้คำว่า “Model Element Table”
  • USACE ใช้คำว่า “Minimum Modelling Matrix” or “M3”
  • Veteran affairs (US) ใช้คำว่า “VA Object Element Matrix”
  • NatSpec ใช้คำว่า “BIM Object Element Matrix”

ต่อมาแนวคิดเรื่องความละเอียดของข้อมูลเพื่อประกอบกับการทำงานถูกอธิบายในมาตรฐาน ISO 19650 เป็น Level of Information Need ที่เกิดจากจุดประสงค์การใช้งานในขั้นตอนหนึ่งจึงอาจจะมีความละเอียดของข้อมูลที่แตกต่างกันตามหน้าที่การใช้งาน

มีคำอธิบายของ LOD ที่แตกต่างตามผู้ที่เสนอแนวคิด ผู้ที่นำมาใช้ต้องเข้าใจหลักการและโครงสร้างเพื่อสร้างขึ้นมาประกอบให้ผู้ร่วมงานทุกฝ่ายได้ติดตามพัฒนาการทำงาน LOD จึงเป็นแนวคิดไม่ใช่กฎที่ตายตัวหรือข้อมูลประกอบการส่งงาน

ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Create a website or blog at WordPress.com

%d bloggers like this: