ข้อมูลที่อยู่ใน BIM Model (BIM Content)

องค์ประกอบของอาคารทั้งหมดที่ถูกทำขึ้นเป็นรูป 3 มิติพร้อมข้อมูล Specification เพื่อใช้ในงานออกแบบและก่อสร้าง เป็นเรื่องสามัญของการทำงานด้วย BIM ด้วยแนวคิดเรื่อง Model และ Information ที่เชื่อมโยงกันเป็นเนื้อเดียวทำให้องค์ประกอบนั้นมีประสิทธิภาพจากคุณสมบัติขององค์ประกอบนั้น

BIM Content

องค์ประกอบชิ้นงานของการออกแบบไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนของอาคาร, สิ่งก่อสร้าง, องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมต่างๆ ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเครื่องมือต่างๆ ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกัน Model Object จึงมีสกุลและการบัญญัติชื่อตามผู้ผลิตนั้น องค์ประกอบของชิ้นส่วนอาคารเหล่านั้นถูกนำมาใช้ร่วมกันใน BIM Project

คืออะไร?

องค์ประกอบอาคารที่เป็นรูปทรงเลขาคณิต 3 มิติ ที่มีข้อมูล Geometry Data, Asset Data และ Documentation บรรจุอยู่ คุณสมบัติของชิ้นส่วนนั้น ไม่ว่าจะเป็น ผู้ผลิต, รหัสสินค้า, รหัสชิ้นงาน, วัสดุ, การบำรุงรักษา และอื่นๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการทำ Specification และการใช้งานหลังการส่งมอบอาคาร

ทำไม?

ข้อมูลเหล่านั้นถูกนำมาใช้ตลอดอายุของอาคารเริ่มต้นจากการออกแบบไปถึงการบริหารจัดการ ต้นทางของ BIM Content ที่มาจากผู้ผลิตสินค้าซึ่งมีข้อมูลที่ชัดเจนทำให้การเลือกใช้และเข้าถึงคุณสมบัติที่ถูกต้องตรงตามชนิด, ขนาด, รุ่น, เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในระบบนิเวศของ BIM

เกี่ยวกับอะไร?

BIM Content เกี่ยวกับผู้ผลิตสินค้าซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายไปจนถึงผู้ใช้งานในระหว่างออกแบบและก่อสร้างนำมาประกอบการวิเคราะห์การใช้งาน, การก่อสร้าง, การติดตั้งชิ้นส่วน จนถึงการนำไปประกอบการบริหารอาคาร มูลค่าของข้อมูลเหล่านี้ที่มีอยู่ด้วยคุณสมบัติต่างๆ เช่น

  • รับรู้ได้ว่า Product นี้คืออะไร? ด้วยมีการกำหนด Classification และรหัสประกอบชิ้นงาน
  • Product นี้ทำงานได้ดีอย่างไร? ด้วยการใช้ Parameter เพื่อนำไปวิเคราะห์
  • จะติดตั้งชิ้นงานได้อย่างไร? ด้วยการจำลองการทำงานโดยการแสดงภาพที่เป็น 3D
  • Product นี้มีผิวพรรณเป็นอย่างไร? ด้วยคุณสมบัติของ Material ที่แสดงผลเป็น สี, Texture และแสดงผลเป็น Graphic
  • ทำการดูแลและซ่อมแซมตลอดอายุอาคารด้วยความยั่งยืน ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องของข้อมูลทางกายภาพ

BIM Content ถูกนำไปใช้งานในหลายๆ ด้านเช่นประกอบการผลิตจากโรงงาน, การประกอบชิ้นส่วน, การทำ Specification, การแสดงผลจากมิติต่างๆ ผู้ที่สร้าง BIM Content ไม่ว่าจะเป็นต้นกำเนิดจากผู้ผลิตอุตสาหกรรมหรือผู้ใช้งานย่อมมีความเข้าใจกระบวนการทำงานและจุดประสงค์แห่งการนำไปใช้ที่ถูกต้อง เพราะข้อมูลที่บันทึกไว้จะอยู่ในวงจรการทำงานตลอดเวลา หลักการ Classification และการกำหนดรหัสประกอบชิ้นงานควรมีมาตรฐานที่เป็นสากล

ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Create a website or blog at WordPress.com

%d bloggers like this: