การพัฒนาสู่มาตรฐาน ISO 19650 ในแต่ละประเทศ

มาตรฐาน BIM | พัฒนาการบนความแตกต่าง

การเริ่มต้นทำงานด้วย BIM มักจะมีคำถามถึงเรื่องมาตรฐานการใช้งานเสมอ ซึ่งเป็นความต้องการเริ่มแรกของผู้ที่จะใช้ BIM
ถ้ากลับมามองภาพที่ผ่านมาของการเกิดของมาตรฐานทำให้เห็นพัฒนาการและความแตกต่างของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ เนื่องจาก BIM มีความซับซ้อนและอยู่ในกระบวนการทำงานออกแบบและการก่อสร้างผนวกกับการใช้เทคโนโลยีที่สื่อสารทางระบบดิจิทัล ข้อกำหนดการทำงานจึงต้องการระเบียบวิธีในการดำเนินงาน, การจัดการข้อมูล, การนำส่งงานให้ได้ตามความต้องการ
มาตรฐานในการรองรับจึงมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมและบุคลากรหลายฝ่าย การสร้างพื้นฐานความเข้าใจเพื่อกำหนดการนำไปใช้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น มาตรฐานในโลกเกิดขึ้นจากการใช้งานตามภูมิภาคต่างๆ บนวัฒนธรรมการทำงานของตัวเอง มาตรฐานบางส่วนก็ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย หมายถึง ผู้นำไปใช้งานต้องดัดแปลงตัวเองและผู้ร่วมงานให้รองรับกับมาตรฐานนั้น ทั้งที่อาจจะไม่สอดคล้องกับการใช้งานก็ตาม มาตรฐานเฉพาะของภูมิภาคจึงเกิดขึ้นและมีระเบียบวิธีที่แตกต่างออกไปตามความเหมาะสมกับการใช้งาน

เนื้อหาและสาระ

เนื้อหาที่บรรจุในมาตรฐานทั่วไปเป็น Project Requirement ตามจุดประสงค์ของการใช้งานรวมถึงความรับผิดชอบของผู้ร่วมงานสำหรับการประสานงานเพื่อสร้างความเข้าใจที่เป็นทิศทางเดียวกัน แนวทางการทำงานด้วย BIM ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบประกอบอยู่ 4 ส่วนหลักก็คือ

  • แผนการดำเนินการโครงการ : Project Execution Plan (PEP)
  • วิธีการสร้างแบบจำลอง : Modeling Methodology (MM)
  • ระดับการพัฒนารายละเอียด : Levels of Development (LOD)
  • กระบวนการทำงาน BIM และการจัดระเบียบข้อมูล : BIM protocol and information organization (P&O)

รายละเอียดที่กำหนดมีหัวข้อขยายความตามความประสงค์ของแต่ละภูมิภาคที่กำหนดนโยบายการใช้ BIM ในด้านที่แตกต่าง โดยส่วนใหญ่ถูกกำหนดจากภาครัฐที่ต้องการจัดการทรัพย์สินซึ่งอ้างอิงมาตรฐานที่เกี่ยวเนื่องเช่น ISO, IFC
ส่วน LOD มีรายละเอียดที่ระบุแตกต่างกันออกไป เช่น LOD จาก BIMForum อ้างอิงคำจำกัดความจาก American Institute of Architects (AIA) ข้อกำหนดที่ระบุใน BIM Standard, Guideline, Protocol มีกรอบของเนื้อหาที่แตกต่างกันเพื่อประโยชน์การใช้งาน

พัฒนาการต่อเนื่อง

การริเริ่มใช้ BIM ในแต่ละภูมิภาคนำมาสู่การสร้าง BIM Standard และ BIM Guideline ตามจุดประสงค์การใช้งานของตนเองซึ่งมีบางส่วนอ้างอิงเข้ามาใช้ร่วมกัน มาตรฐานในแต่ละภูมิภาคจึงมีลักษณะเด่นเฉพาะของตัวเองจากความเป็นมาของการริเริ่มใช้ BIM ที่มีลำดับขั้นจากเหตุที่แตกต่างกัน บางส่วนเกิดจากความต้องการแก้ปัญหาการทำงานที่เสียหายจากระบบการทำงานแบบเดิม, การต้องการพัฒนาวิชาชีพและเพิ่มประสิทธิภาพในเนื้องานที่มีอยู่ หรือต้องการจัดการทรัพย์สินและการบริหารงบประมาณ จากแหล่งของการริเริ่มใช้ BIM เมื่อแบ่งเป็นภูมิภาคจะเห็นการพัฒนาได้อย่างชัดเจนดังต่อไปนี้

ISO 19650

สหรัฐอเมริกา

จากข้อมูลจนถึงปี 2015 ในสหรัฐอเมริกาหน่วยงานอิสระของรัฐบางแห่งเผยแพร่ BIM Guideline และ BIM Standard อยู่ 47 รายการอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีการเผยแพร่ 17 รายการโดยหน่วยงานราชการและ 30 ฉบับเผยแพร่โดยองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร General Services Administration (GSA) วางแผนที่จะเผยแพร่ข้อกำหนดที่เป็นอิสระอีก 8 รายการและมีการเผยแพร่ 6 คำแนะนำในช่วง 2007 ถึง 2011 ซึ่งจะมีอีก 2 ข้อกำหนดจะได้รับการเผยแพร่ National Institute of Building Sciences (NIBS) ได้ตีพิมพ์ BIM standard versions 2 ในปัจจุบันได้เผยแพร่ National BIM Standard – United States® Version 3 และจะมีการพัฒนาต่อไป

NBIMS-US เวอร์ชัน 3 ประกอบด้วยรายการหลักหลายอย่างให้ใช้ รวมถึงมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลเช่น COBie (Construction to Operations Building information exchange) และ Spatial Program Validation, the BIM Project Execution Planning Guide และ Templates คำจำกัดความของ BIM Uses และ BIM contracting framework อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่มีการเผยแพร่ในปี 2015 ก็มีความกังวลว่าหลายอย่างที่ยังไม่ครอบคลุมแต่ก็ยังนำไปใช้งานได้ ในอนาคตจะมีการพัฒนามาตรฐานให้ใช้งานง่ายขึ้นบนเวปและเชื่อมโยงกับมาตรฐานอื่นมากขึ้นเช่น Level of Development Standards ที่ใช้แตกต่างกันในสากลถึง 28 มาตรฐาน ซึ่งปัจจุบันมีการอ้างอิงถึงเพียง 3 มาตรฐาน

นอกจากนี้ American Institute of Architects (AIA), Association of General Contractors (AGC), มหาวิทยาลัย, รัฐและเมืองต่างๆ ก็ตีพิมพ์แนวทางและมาตรฐาน BIM ซึ่ง Pennsylvania State University and The Association of Contractors ได้มีหัวข้อครอบคลุม 4 ส่วนหลักของมาตรฐาน BIM อย่างไรก็ตาม BIM Guideline บางส่วนไม่ได้พัฒนาให้ครอบคลุมทั้งหมดเช่นระดับการพัฒนารายละเอียด (LOD)

กลุ่มประเทศยุโรป

ในยุโรปมีข้อกำหนดและมาตรฐาน BIM มากกว่า 34 รายการซึ่ง 18 รายการได้รับการตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรโดย Construction Industry Council (CIC), BIM Task Group, British Standards Institution (BSI), AEC-UK และอีก 6 รายการได้รับการตีพิมพ์ในนอร์เวย์โดย Statsbygg หน่วยงานราชการและ Norway Association of Construction ในส่วน BIM guidelines ที่พัฒนาขึ้นในฟินแลนด์, เดนมาร์ก และสวีเดน ซึ่งมีข้อกำหนดการใช้งาน BIM สำหรับอาคารโครงสร้างพื้นฐานและสะพาน ส่วนใหญ่ที่ถูกตีพิมพ์เกือบทั้งหมดในยุโรปขาด 2 ส่วนคือ PEP และ LOD ยกเว้น BIM specification of AEC-UK ครอบคลุมทั้งหมดใน 4 ส่วนซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากข้อกำหนดอื่นๆ

ในปี 2018 BSI Standards Publicationได้เผยแพร่มาตรฐาน BS EN ISO 19650 ที่เป็นการร่วมมือกันในกลุ่มประเทศยุโรป ถึงแม้จะได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก PAS 1192 และบางส่วนจากมาตรฐานในกลุ่มยุโรปซึ่งพยายามให้ง่ายขึ้นและบอกวิธีการทำงานที่ชัดเจนทำให้มีความแตกต่างจากมาตรฐาน BIM อื่นๆ ที่ผ่านมา แต่ในโครงสร้างหลักยังอ้างอิงมาตรฐานของ ISO ในฉบับอื่นๆอีกด้วย

มาตรฐาน ISO 19650 กล่าวถึงการจัดการข้อมูลในงานอาคารและงานวิศวกรรมโยธาที่รวมถึงการใช้ข้อมูลใน BIM และระบุถึงทรัพย์สินของโครงการทางกายภาพและทรัพย์สินเสมือนจริงที่ถูกสร้างขึ้นเป็น BIM ระหว่างการทำงาน เริ่มต้นจากความต้องการในการใช้ข้อมูล บอกถึงหน้าที่ของผู้ร่วมงานในขั้นตอนต่างๆ ในนิเวศของการทำงานตลอดอายุ รวมถึงกรอบการทำงานเพื่อนำส่งและการบริหารจัดการข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีที่จัดเก็บอย่างเป็นหลักแหล่งให้ผู้ร่วมงานทุฝ่ายสามารถเข้าถึงและแน่ใจได้ว่าเป็นแหล่งที่ข้อมูลทั้งหมดไม่หลุดหายไปในระว่างการทำงานด้วยการจัดเรียงตามระเบียบวิธีอย่างถูกต้อง

กลุ่มประเทศเอเซีย

ในเอเชียมี BIM protocols มากกว่า 35 รายการซึ่งเผยแพร่ 12 รายการโดย Singapore Building Construction Authority (BCA) และหน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ BIM protocols อื่นๆ เผยแพร่ในเกาหลี, ญี่ปุ่น, จีน, ไต้หวัน และฮ่องกง สิ่งเหล่านี้คล้ายคลึงกับยุโรปซึ่งขาด 2 ส่วนคือ PEP และ LOD
ในส่วนของ Singapore BIM Guide Version 2 มีข้อกำหนดครอบคลุมใน 4 ส่วนซึ่งกำหนดรายละเอียดของ Model ในแต่ละขั้นตอนการทำงานเป็นตัวอย่างในหัวข้อ Model Progression
ในส่วนประเทศเวียดนาม และอินเดีย ก็เริ่มมีข้อกำหนดการใช้ BIM ของตัวเองเหมือนกับประเทศจีน ที่กำหนดมาตรฐานขึ้นใช้เป็นรูปแบบของตัวเองทั้งหมด ในประเทศไทยก็มีการออก BIM Standard และ BIM Guideline จากองค์กรวิชาชีพ, ภาคธุรกิจ, จากหลายหน่วยงานเพื่อให้ผู้ใช้งานนำไปอ้างอิงในการทำงานในโครงการ

บทสรุป

สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประเทศต่างๆ ในโลกที่ใช้ BIM ได้ตีพิมพ์คำแนะนำและมาตรฐาน BIM มุ่งเน้นไปที่ข้อกำหนดในการนำไปใช้ในกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมของเขา เช่น Singapore BIM Guideline ถูกพัฒนาให้ไปสู่การ ใช้ BIM และต่อเนื่องไปสู่ Integrated Digital Delivery (IDD) สำหรับการทำงานในระบบดิจิทัลสำหรับการก่อสร้างชิ้นส่วนจากโรงงาน อีกส่วนหนึ่ง Nation BIM standard versions 3 มีเนื้อหาของการบริหารจัดการทรัพย์สิน ในสหราชอาณาจักรก็เริ่มใช้ ISO 19650 ที่ปรับจาก BS 1192 และ PAS 1192 มาเป็น ISO BIM ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับชาติ
การเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานบนแนวคิดที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อก้าวไปสู่การทำงานด้วยระบบดิจิทัลที่คืบคลานเข้ามา ทำให้มาตรฐานที่ใช้ปัจจุบันเริ่มล้าสมัยทันที ที่น่าสังเกตอีกข้อ คือ มาตรฐานหลักไม่ได้สร้างขึ้นด้วยการทำซ้ำในเวลาข้ามคืนแต่มีวิวัฒนาการจากแนวคิดที่ชัดเจนด้วยการสรุปบทเรียน การค้นคว้าวิจัยและความเห็นจากผู้ร่วมงานต่างสาขาหลายภาคส่วนเพื่อนำไปสู่การใช้งานง่ายขึ้นและเป็นสากลมากขึ้น

บทความนี้ทำขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจภาพของมาตรฐานสากลและความจริงที่เกิดขึ้นตามภูมิภาคโดยรวมเพียงสาระสำคัญ ผู้อ่านสามารถศึกษาจากแหล่งต่างๆเช่น

National Institute of Building Sciences https://www.nationalbimstandard.org/

BS EN ISO 19650
https://www.iso.org/standard/68078.html

ทรงพล ยมนาค
Songphol Yomnak

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

Create a website or blog at WordPress.com

%d bloggers like this: